5 หมัดเด็ดที่ช่วยคุณให้สามารถเขียนภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจได้ภายในเวลาอันสั้น
คุณคงเคยที่จะรู้สึกกลัว กังวล จนเครียดเวลาต้องเขียนอะไรสักอย่างเป็นภาษาอังกฤษใช่ไหม และความยากที่คือการที่คุณไม่รู้ว่าจะเริ่มการเขียนนั้นอย่างไร แต่ใจก็อยากที่จะเห็นภาพของการเขียนที่เหมือนว่าคุณได้ทำการเขียนและพร้อมที่จะส่งและหวังว่าผู้อ่านนั้นสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะตอบได้ในเวลาอันสั้น แต่ก็ไม่สามารถที่จะเขียนได้หรือเขียนได้แต่กระท่อนกระแท่น ไม่เป็นชิ้นเป็นอันอยู่บ่อยครั้ง หากคุณกำลังหรือว่าเป็นเช่นนั้นทุกครั้งเวลาที่ต้องเขียน เช่นเขียน บริติช เคานซิล มีวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถที่จะเขียนแบบ Worry Free ได้
ความกลัวและกังวลซึ่งเกิดทุกครั้งเมื่อคุณต้องเริ่มการเขียนภาษาอังกฤษยิ่งโดยเฉพาะอะไรที่เป็นภาษาอังกฤษด้วยแล้วนั้นเกิดขึ้นจากการที่คุณไม่รู้ว่าจะเริ่มการเขียนนั้นอย่างไร และมีไอเดียอยู่ในความคิดวนเวียนอยู่ล้านแปด วิธีที่ทางบริติช เคานซิลจะทำการแนะนำและพร้อมที่จะช่วยให้คุณสามารถผลิตงานเขียนชั้นเลิศออกมาได้นั้นคือการแยกส่วนประกอบในการเขียนออกมาทั้งสิ้น 5 ส่วนดังนีี้
1. สร้างและรวบรวม Ideas (Generate and Gather Ideas)
หากคุณต้องเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรายงาน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการผลิต งานขาย หรือเทรนการตลาดเป็นต้น คุณจำเป็นที่จะต้องทำการ Research ข้อมูลเบื้องต้นนั้นก่อน และรวบรวมความคิดหรือไอเดียดีๆที่คุณอยู่นั้น ลงบนกระดาษหรือเครื่องมือการจดที่คุณมีอยู่ เพราะไอเดียทุกไอเดียนั้นมีค่าเสมออย่าปล่อยทิ้งมันไป
2) วางโครงเรื่องงานเขียนของคุณ (Organize Information)
หลังจากที่คุณทำการจดไอเดียที่คุณมีในความคิดได้นั้นแล้ว ให้คุณสามารถวางโครงร่างของข้อความที่คุณต้องการที่จะเขียนโดยเรียงลำดับการเรื่องที่คุณจะเล่าจากกว้างไปแคบ โดยลักษระงานเขียนจะคล้ายกับสามเหลี่ยมคว่ำ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการที่เขียนเกี่ยวกับการขออนุมัติ Campaign การขายของคุณ ก็ควรที่จะวางโครงร่างโดยเริ่มจากความต้องการของตลาด ลูกค้าที่คุณจะขาย ไปจนถึงกำไรที่คาดว่าจะได้รับเพื่อทำการขออนุมัติ
3) วางไอเดียผ่านตัวอักษร (Puts Your Ideas into Words)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่คุณจำเป็นต้องวางไอเดียที่คุณมีนั้นผ่านตัวอักษร โดยเริ่มเรียงลำดับการเขียน รูปแบบประโยค ตามโครงเรื่องงานเขียนของคุณที่ได้เริ่มวางไว้ในขั้นตอนที่ 2
4) ตรวจดูความถูกต้องของการเขียน (Quality Control)
ตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนภาษาอังกฤษของคุณไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสะกด (Spelling) ซึ่งมักจะเป็นจุดที่ผิดบ่อย หลักไวยากรณ์ (Grammar) การเว้นวรรค (Punctuation) เป็นต้น เพราะการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจนั้น เน้นถึงความถูกต้องของข้อมูลรวมถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อบ่งถึงความเป็นมืออาชีพ (Professional)
5) กลับมาอ่านแล้วปรับแต่งอีกครั้งก่อนส่ง (Polishing Your Writing)
หลังจากที่คุณคิดว่างานเขียนในขั้นตอนที่ 4 นั้นเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้คุณวางงานเขียนที่คุณคิดว่าเสร็จนั้นไว้สักพักแล้วไปทำงานหรือกิจกรรมอย่างอื่นก่อนแล้วกลับมาอ่านอีกครั้ง เพราะงานเขียนที่จะสมบูรณ์ตั้งแต่ครั้งแรกนั้นเป็นไปได้ยาก อาจมีบางคำ บางประโยคที่ยังดูแล้วไม่ได้ใจความสำคัญหรือไม่ถูกต้องนัก ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณปรับงานเขียนของคุณที่มีให้ดียิ่งขึ้น และหลังจากปรับงานเขียนไปแล้วก็ให้คุณกลับไปทำการตรวจสอบความถูกต้องของงานเขียนอีกครั้งก่อนกดปุ่ม Send ไปยังผู้อ่านของคุณ
ได้เรียนรู้ถึงหมัดเด็ดกันไปแล้วก็อย่าลืมนำไปทดลองและปรับใช้ในการเขียนของคุณให้มีประสิทธิภาพ เพราะการเขียนที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงจะช่วยให้คุณดูดีแต่ยังให้คุณมากกว่าในเชิงของความเชื่อมั่นที่คุณจะได้จากเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานของคุณ และหากใครที่กำลังมองหาคอร์สเรียนที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องของการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจและทักษะในการสื่อสารหรือ Soft Skills ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการทำงานในองค์กรสากล บริติช เคานซิล มีคอร์สเรียนภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจที่ช่วยตอบโจทย์ในการทำงานพร้อมการันตีความสำเร็จให้กับคุณ