เป้าหมายของเรา
พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย โดยการนำเอานวัตกรรมชั้นนำและความคิดสร้างสรรค์จากสหราชอาณาจักรเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับคน สังคม และภาคศิลปะในประเทศ
ยุทธศาสตร์ของเรา
เราทำงานกับภาครัฐ สถาบันการศึกษา และสถาบันอบรม นักออกแบบ ผู้ผลิต และองค์กรพันธมิตรด้านศิลปะและสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพให้แก่คนท้องถิ่นและสร้างความยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นและประสบการณ์ระดับโลกเข้าด้วยกัน ภายใต้ความเข้าใจปัญหาท้องถิ่น และพัฒนาวิธีแก้ปัญหาอย่างให้ตรงจุด
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้สร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้กำหนดนโยบาย องค์กรพันธมิตร รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลก เราจึงมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและมีประสบการณ์ในการเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญภายใต้ความพยายามในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
ผลงานของเรา
โครงการนวัตกรรมด้านงานหัตถกรรมและการออกแบบ
โครงการนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและทักษะที่สำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจด้านงานหัตถกรรม พร้อมกับมีการจัดหาโอกาสทางการตลาดทั้งในประเทศไทยและสหราชอาณาจักรให้ โดยโครงการประกอบด้วยสัมมนาเชิงปฏิบัติการสองครั้ง และการจัดแสดงผลงานทั้งในประเทศไทยและในสหราชอาณาจักร
โครงการการออกแบบและผู้ประกอบการสังคม
โครงการนี้มีขึ้นเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการด้านงานหัตถกรรมหันมาให้ความสนใจกับเป้าหมายทางสังคม โดยโครงการช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาแนวคิดด้านการออกแบบและช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจและขยายผลกระทบเชิงบวกทางสังคม โดยมีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสองครั้ง การรับคำแนะนำทางธุรกิจ และการจัดแสดงผลงานในไทยสองครั้ง ในสหราชอาณาจักรสองครั้ง รวมถึงมีการจัดเวทีเสวนา และการทัศนศึกษาที่สหราชอาณาจักร
โครงการแลกเปลี่ยนด้านงานหัตถกรรมและการออก ไทย-สกอตแลนด์
โครงการนี้ทำหน้าที่ในการสร้างพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านการออกแบบและผลงานสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้นักออกแบบและผู้ผลิตชาวไทยและสกอตแลนด์ได้ร่วมมือกันทดลองหาวิธีการ เทคนิค และวัตถุดิบใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบอย่างยั่งยืนเป็นหลัก โครงการนี้ช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ทำให้เกิดการผลิตผลงานและแนวคิดใหม่ ๆ แม้ว่าโครงการจบลงแล้ว ซึ่งประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนบุคลากรและการจัดแสดงผลงานสองครั้งในประเทศไทย รวมถึงการทัศนศึกษาและการจัดแสดงผลงานอีกสามครั้งที่สหราชอาณาจักร
โครงการความร่วมมือด้านงานหัตถกรรม ไทย-สกอตแลนด์
หลังจากการแลกเปลี่ยนศิลปินไทยและสกอตแลนด์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 นักออกแบบชาวสกอตแลนด์ก็ได้รวมตัวกันกับสถาปนิก ศิลปิน และช่างฝีมือด้านจักสานของไทย จัดทำนิทรรศการศิลปะภายใต้ชื่อ “วาฬ” ขึ้น โดยมีการจัดแสดงที่เทศกาลวันเดอร์ฟรุตที่จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ.2560 โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 10,000 คน นิทรรศการศิลปะนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างช่างฝีมือชาวไทยและสหราชอาณาจักร โดยเป็นสื่อสารถึงการค้นหาความหมายของงานหัตถกรรมและความยั่งยืนผ่านการใช้โลหะรีไซเคิล และปลาไม้ไผ่กว่า 4,000 ตัวที่สานขึ้นโดยช่างจักสานและนักเรียนจากจังหวัดเชียงใหม่
คำรับรอง
“ดิฉันได้พัฒนาทักษะจากการทำงานร่วมกับศิลปินจากสหราชอาณาจักร และยังได้ความรู้มากมายจากการเข้าร่วมเป็นตัวแทนแสดงผลงานที่จัดขึ้นโดยบริติช เคานซิล ที่สหราชอาณาจักร ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างสนใจที่จะเริ่มทำธุรกิจระหว่างประเทศ
นอกจากนั้น ดิฉันยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมทั้งของไทยและของต่างประเทศ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ดิฉันเปิดกว้างในการรับแนวคิดใหม่ ๆ ประสบการณ์ครั้งนี้ไม่เพียงแค่เปลี่ยนแปลงตัวดิฉันเอง แต่ยังส่งผลต่อช่างฝีมือที่ทำงานร่วมกับดิฉันอีกด้วย”
ศรุตา เกียรติภาคภูมิ – ศิลปิน, Pin Metal Life
“การเข้าร่วมฝึกอบรมช่วยสร้างแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของภูคราม และทำให้ดิฉันเข้าใจถึงคุณค่าของชุมชน และตระหนักถึงวิธีการในการสร้างคุณค่าให้กับสิ่งของธรรมดาที่พบได้ทั่วไปในท้องถิ่น ขอบคุณบริติช เคานซิล ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานกับชุมชน และทำโครงการที่เป็นประโยชน์ ที่ช่วยให้คนแบบดิฉันที่ต้องการจะกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง สามารถทำงานร่วมกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
ปิลันธน์ ไทยสรวง – ผู้ก่อตั้ง, ภูคราม
“บริติช เคานซิลเปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลและประตูที่เปิดสู่การค้นหาความรู้และข้อมูลของสหราชอาณาจักร การร่วมมือกับบริติช เคานซิลเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับทุกคนที่กำลังมองหาความรู้และต้องการนำหน้ากระแสโลก”
มณฑินี ยงวิกุล, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
“ความร่วมมือระหว่างศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศและบริติช เคานซิลช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรทางด้านงานหัตถกรรม เป็นการยกระดับสถานะของงานหัตถกรรม และส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่นเอาไว้
ช่างฝีมือชาวไทยซึ่งได้รับมุมมอง เทคนิค และกระบวนการใหม่ๆจากผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาธุรกิจของตัวเอง ขณะที่ช่างฝีมือชาวสหราชอาณาจักรก็ได้รับแรงบันดาลใจและวิธีการทำงานใหม่ๆจากพันธมิตรชาวไทย ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาผลงานของแต่ละฝ่าย ความร่วมมือนี้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความร่วมมือที่เป็นประโยชน์อย่างมาก”
แสงระวี สิงหวิบูลย์, ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)