คุณศึกษากฎไวยากรณ์บ่อยแค่ไหน คุณเรียนเป็นประจำหรือไม่ หรือแทบไม่เรียนเคยเลยหรือเปล่า
องค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ภาษาทุกภาษาคือการเรียนรู้วิธีบอกความถี่ของการกระทำต่างๆ ในภาษาอังกฤษ เรามักจะทำเช่นนี้โดยการใช้คำที่เรียกว่า ‘adverbs of frequency’ (กริยาวิเศษณ์บอกความถี่) นี่คือตัวอย่างบางส่วนของการใช้คำดังกล่าวในประโยคภาษาอังกฤษ
a. You’re always complaining! (คุณเอาแต่บ่นตลอดเลย)
b. I am very busy, so I hardly ever have time to watch TV.
(ฉันยุ่งมาก ดังนั้นฉันจึงแทบไม่มีเวลาดูทีวีเลย)
c. The Lunar New Year holiday sometimes falls in January, but it usually falls in February.
(บางครั้งวันหยุดตรุษจีนจะตรงกับเดือนมกราคม แต่มักจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์บ่อยกว่า)
คุณควรใช้กริยาวิเศษณ์บอกความถี่เมื่อไร
กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ช่วยให้เราสามารถบอกได้ว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน กริยาวิเศษณ์สามารถทำหน้าที่ได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น กริยาวิเศษณ์สามารถอธิบายคำกริยาได้ (“he drives quickly”) (เขาขับรถเร็ว) หรืออธิบายทั้งอนุประโยค (“Luckily, he escaped from the accident uninjured”) (โชคดีที่เขารอดจากอุบัติเหตุโดยไม่บาดเจ็บ) กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ก็ทำหน้าที่เหล่านี้เช่นกัน แต่กริยาวิเศษณ์บอกความถี่บอกได้ว่ากริยานั้นเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน หรือทั้งอนุประโยคเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนได้ด้วย กริยาวิเศษณ์บอกความถี่มักจะมาเป็นคำเดียวเสมอ แต่มีข้อยกเว้นหนึ่งข้อ คือคำว่า “hardly ever” (แทบจะไม่เคย)
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้กริยาวิเศษณ์บอกความถี่คำไหน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ลองใช้ตารางด้านล่างนี้เป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินใจได้เลย:
Regularity (ความสม่ำเสมอ) (% is approx.) (% ประมาณการ) |
100% of the time (100% ของเวลา) |
80 - 90% of the time (ประมาณ 80 - 90% ของเวลา) |
50 - 70% of the time (ประมาณ 50 - 70% ของเวลา) |
20 - 40% of the time (ประมาณ 20 - 40% ของเวลา) |
5 - 10% of the time (ประมาณ 5 - 10% ของเวลา) |
0% of the time (0% ของเวลา) |
Adverb (กริยาวิเศษณ์) |
always (เสมอ) |
usually (เป็นประจำ) |
often (บ่อยครั้ง) |
sometimes (บางครั้ง) |
hardly ever (แทบจะไม่เคย) |
never (ไม่เคย) |
Sample sentence (ประโยคตัวอย่าง) |
Edinburgh in Scotland always has short days in winter. (เอดินบะระในสก็อตแลนด์จะมีวันที่สั้นเสมอในช่วงฤดูหนาว) |
Winters in Edinburgh are usually very cold. (ฤดูหนาวในเอดินบะระมักจะหนาวจัดเป็นประจำ) |
It often snows in Edinburgh in winter. (ฤดูหนาวในเอดินบะระมักมีหิมะตกบ่อยๆ) |
Edinburgh sometimes has winters without snow. (บางครั้งฤดูหนาวในเอดินบะระก็ไม่มีหิมะตกเลย) |
The temperature in Edinburgh hardly ever goes over 27 Celsius. (อุณหภูมิในเอดินบะระแทบจะไม่เคยเกิน 27 องศาเซลเซียส) |
Edinburgh never has short days in summer. (ในฤดูร้อน เอดินบะระไม่มีวันที่สั้นเลย) |
Similar adverbs (กริยาวิเศษณ์ที่คล้ายกัน) |
- |
normally, generally (โดยปกติ) |
frequently (บ่อยครั้ง) |
occasionally (เป็นครั้งคราว) |
rarely, seldom (ไม่ค่อย, นานๆ ครั้ง) |
- |
เคล็ดลับ: การเข้าคอร์สภาษาอังกฤษที่มีการสนทนาอังกฤษเป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาการใช้คำกริยาบอกความถี่ เพราะจะช่วยให้คุณได้ฝึกพูดและฟังภาษาอังกฤษไปในตัว ลองเรียนคอร์สภาษาอังกฤษสำหรับผู้ใหญ่ของเราดูสิ: https://www.britishcouncil.or.th/english-courses/adults
กฎการใช้กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ในภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง
ในภาษาอังกฤษ กฎที่สำคัญที่สุดสำหรับกริยาวิเศษณ์บอกความถี่คือการใช้ในตำแหน่งที่ถูกต้องในประโยค โดยปกติมี 3 ตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับประเภทของกริยา:
Type of verb (ประเภทของกริยา) |
The verb “to be” (กริยา “to be”) |
All other verbs |
Auxiliaries and modal verbs (กริยาช่วย) |
Example (ตัวอย่าง) |
You are always late. (คุณมาสายเสมอ) |
I usually work on Tuesdays. (ฉันมักจะทำงานในวันอังคาร) |
I have often considered becoming a vegetarian. (ฉันเคยบ่อยๆ ที่คิดว่าจะเป็นมังสวิรัติ)
I can never remember his name! (ฉันจำชื่อเขาไม่ได้เลย) |
Position of adverb of frequency (ตำแหน่งของกริยาวิเศษณ์บอกความถี่) |
After the verb “to be”. (หลังกริยา “to be”) |
Before the verb. |
After the auxiliary or the modal. (หลังกริยาช่วย) |
กฎการวางตำแหน่งของกริยาวิเศษณ์ในภาษาอังกฤษอาจดูเหมือนไม่มีระเบียบ เหตุใดจึงต้องวางกริยาวิเศษณ์หลังกริยา “to be” (“to be”) แต่กลับวางก่อนกริยาอื่นๆ ทั้งหมด เหตุผลเป็นเรื่องของการออกเสียง เมื่อคนที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องพูดอะไรบางอย่าง พวกเขามักจะย่อคำแทบทุกครั้ง ดังนั้น ประโยค “You are late” (คุณมาสายนะ) จึงย่อเป็น “You’re late”; “I have considered” (คุณสายนะ; ฉันเคยมีความคิดว่า) ก็จะย่อเป็น “I’ve considered (ฉันเคยคิดว่า)” เป็นต้น การวางกริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากริยาหรือหน้ากริยาช่วยอาจทำให้การออกเสียงคำย่อเป็นเรื่องยาก ดังนั้น กริยาวิเศษณ์จึงปรากฏตามหลังคำเหล่านี้ คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเชื่อมคำในภาษาอังกฤษได้จากบทเรียนหัวข้อย่อยนี้
ข้อยกเว้นและความแตกต่างในการใช้กริยาวิเศษณ์บอกความถี่
ภาษาอังกฤษและอีกหลายๆ ภาษาใช้หลักการเดียวกันคือกริยาวิเศษณ์ไม่ใช่วิธีเดียวในการบอกถึงความถี่ คุณยังสามารถใช้สำนวนหลายคำได้อีกด้วย โดยเฉพาะสำนวนที่มีคำว่า “every” หรือ “a”:
Bradley goes to French class every Tuesday and Thursday. (Bradley ไปเรียนภาษาฝรั่งเศสทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี)
Tanya travels abroad at least three times a year. (Tanya เที่ยวต่างประเทศอย่างน้อยปีละสามครั้ง)
Sophie phones her grandmother once a week. (Sophie โทรหาคุณยายของเธออาทิตย์ละครั้ง)
ให้สังเกตว่าคำแสดงความถี่เหล่านี้มักจะอยู่ที่ส่วนท้ายของประโยคหรืออนุประโยค
ทีนี้ก็มาถึงส่วนที่ “น่าสนุก” กัน ในภาษาอังกฤษมีหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับตำแหน่งที่ถูกต้องของกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ในประโยค แต่บางคำก็อาจเบี่ยงเบนจากกฎเหล่านี้ได้
เมื่อผู้พูดต้องการเน้นกริยาวิเศษณ์ ก็มักจะวางไว้ที่ต้นประโยค (หรือแม้แต่ที่ท้าย) ประโยค สิ่งนี้พบได้บ่อยโดยเฉพาะกับกริยาวิเศษณ์ที่แสดงถึงความถี่ในระดับ “กลาง” เช่น usually, often, sometimes (มักจะ, บ่อยครั้ง, บางครั้ง) มาดูประโยคต่อไปนี้กันเถอะ:
I sometimes work on Saturdays. (ฉันทำงานบางครั้งในวันเสาร์)
ประโยคนี้ถูกต้อง เพราะเป็นไปตามกฎที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ แต่ก็อาจพูดได้ว่า
Sometimes, I work on Saturdays. (บางครั้งฉันก็ทำงานวันเสาร์)
การใส่คำว่า "sometimes" ไว้ที่ต้นประโยคแสดงให้เห็นว่าข้อเท็จจริงนี้ดูน่าประหลาดใจ บางทีเราอาจทึกทักไปว่าผู้พูดไม่เคยทำงานในวันเสาร์
คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลที่มีประโยชน์เพิ่มเติมเกี่ยวกับกริยาวิเศษณ์บอกความถี่และตำแหน่งการวาง
วิธีหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเมื่อใช้กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ในภาษาอังกฤษ
ในภาษาอังกฤษ กริยาวิเศษณ์บางคำสามารถวางได้หลายตำแหน่งในหนึ่งประโยค แต่คุณไม่สามารถแทรกกริยาวิเศษณ์ระหว่างกริยากับกรรมได้ดังนี้
I read often sci-fi novels. (ฉันอ่านบ่อยๆ นิยายไซไฟ) ✗
I often read sci-fi novels. (ฉันอ่านนิยายไซไฟบ่อยๆ) ✓ (หรือเพื่อเน้นย้ำ “Often, I read sci-fi novels.”/ “I read sci-fi novels often.”) (“บ่อยครั้งที่ฉันอ่านนิยายไซไฟ” / “ฉันอ่านนิยายไซไฟบ่อยๆ”)
กริยาวิเศษณ์ “never”, “rarely”, “seldom” and “hardly ever” มีความหมายในเชิงลบ ซึ่งหมายความว่าคุณต้องใช้กริยาวิเศษณ์ดังกล่าวร่วมกับกริยาในประโยคบอกเล่า หากกริยาเป็นรูปปฏิเสธ ประโยคจะมีการใช้คำปฏิเสธซ้ำสองครั้ง เราไม่สามารถใช้คำปฏิเสธซ้ำสองครั้งในภาษาอังกฤษได้ เพราะจะเหมือนเป็นการปฏิเสธกันเองจนทำให้คนอ่านเกิดความสับสน
I don’t never buy CDs nowadays. (ฉันไม่เคยไม่ซื้อซีดีในทุกวันนี้) ✗
I never buy CDs nowadays. (ฉันไม่เคยซื้อซีดีในทุกวันนี้) ✓
กริยาวิเศษณ์ “never” จะใช้อธิบายถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นเท่านั้น ส่วนคำว่า “ever” จะใช้อธิบายถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วดังนี้
It’s the best film I have never seen. (นี่คือภาพยนตร์ที่ดีที่สุดที่ฉันไม่เคยดูมาก่อน) ✗
It’s the best film I have ever seen. (นี่คือภาพยนตร์ที่ดีที่สุดที่ฉันเคยดูมาเลย) ✓
เมื่อใช้สำนวน “have to” เพื่อแสดงถึงภาระหน้าที่ โปรดจำไว้ว่าคำว่า “have” เป็นกริยา ไม่ใช่กริยาช่วยในกรณีนี้ ซึ่งหมายความว่ากริยาวิเศษณ์มักจะวางไว้ก่อนคำว่า “have”
I have always to take a nap after a big meal. (ฉันต้องเสมอนอนหลับหลังจากมื้อใหญ่) ✗
I always have to take a nap after a big meal. (ฉันต้องนอนหลับเสมอหลังจากมื้อใหญ่) ✓
ตัวอย่างการใช้กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ในภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์ เพลง และรายการทีวี
I will always love you - เพลงชื่อดังจากยุค 1990s นี้ Whitney Houston บอกกับคนรักเธอว่าเขาจะอยู่ในใจเธอตลอดไป
We are never (ever ever) getting back together - เพลงฮิตระดับโลกของเธอในปี 2012 Taylor Swift บอกกับแฟนเก่าว่าเธอไม่อยากให้เขากลับมาเป็นแฟนอีก (ในที่นี้คำว่า “never, ever, ever” ใช้เพื่อเน้นความหมายของคำว่า “never”) เพราะเธอหมายความแบบนั้นจริงๆ
Tomorrow never dies - ภาพยนตร์ในปี 1997 เรื่องนี้เล่าถึงเรื่องราวของสายลับ 007 James Bond ที่พยายามช่วยโลกโดยการไล่ล่าผู้ร้ายที่ต้องการเริ่มสงครามโลกครั้งที่สาม
Forrest Gump - ในภาพยนตร์ปี 1994 เรื่องนี้ ตัวละครหลักอย่าง Forrest พูดประโยคอันโด่งดังว่า “My mama always said that life was like a box of chocolates - you never know what you’re going to get.”
แบบทดสอบย่อย
ประโยคด้านล่างแต่ละประโยคมีข้อผิดพลาดอยู่หนึ่งข้อ จงหาข้อผิดพลาด แล้วแก้ให้ถูกต้อง
1. I always am happy when I finish work early.
2. Susan has been never to Thailand.
3. Gerald needs to take his medication three times for day.
4. Always I try to arrive at the office before 9am.
5. It doesn’t hardly ever rain in my country.
6. I eat sometimes muesli for breakfast.
7. I always don’t remember my keys when I leave the house.
(เฉลย)
1. I am always happy when I finish work early.
2. Susan has never been to Thailand.
3. Gerald needs to take his medication three times a day.
4. I always try to arrive at the office before 9a.m.
5. It hardly ever rains in my country.
6. I sometimes eat muesli for breakfast. (Or for emphasis, “Sometimes, I eat muesli for breakfast.” / “I eat muesli for breakfast sometimes.”)
7. I don’t always remember my keys when I leave the house. (Or “I never remember my keys when I leave the house.”)