เกมการแสดงจะช่วยให้เด็กชั้นประถมศึกษารู้สึกตื่นเต้นกับการเรียนภาษาอังกฤษได้ การแสดงจะกระตุ้นให้เด็กๆ ได้ใช้จินตนาการและอาจเปลี่ยนให้กิจวัตรประจำวันเป็นเรื่องสนุก พวกเขาจะได้เข้าไปสำรวจสถานการณ์ต่างๆ ตั้งแต่ซูเปอร์มาร์เก็ตไปจนถึงโลกแห่งจินตนาการ
ในบล็อกนี้ เราจะมาสำรวจวิธีที่สามารถนำมาใช้พัฒนาทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษของเด็กๆ ผ่านการเล่นเกมการแสดงเป็นภาษาอังกฤษ เรามักใช้กิจกรรมสนุกๆ แบบนี้ในคลาสเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก เพราะจะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีขึ้น:
เริ่มจากให้เด็กๆ ลุกขึ้นและเคลื่อนไหว
เด็กบางคนอาจรู้สึกตื่นกลัวได้ หากรู้ว่าจะได้แสดงหรือเล่นละคร ไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาเพื่อเป็นนักแสดง ใช้กิจกรรมอุ่นเครื่องเพื่อช่วยให้เด็กขี้อาย (และผู้ปกครอง) รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เป้าหมายคือการให้ทุกคนได้เคลื่อนไหวไปมา โดยไม่มีแรงกดดัน และเป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์
คุณอาจลองใช้แนวคิดเหล่านี้ในการริเริ่มได้:
- Clapping games (เกมปรบมือ)
ผู้เล่นนั่งเป็นวงกลม (หรือหันหน้าเข้าหากัน หากมีแค่สองคน) ผู้เล่นคนแรกปรบมือเป็นจังหวะ ผู้เล่นคนถัดไปต้องปรบมือจังหวะเดิมซ้ำๆ คุณอาจลองนับเลขออกมาดังๆ เป็นภาษอังกฤษเพื่อเพิ่มความท้าทายให้กับการเล่นเกมได้
- กิจกรรม‘Keep fit (การออกกำลังกาย)’
เกมนี้คล้ายกับเกมปรบมือ แต่ต้องเคลื่อนไหวทั้งตัว ผู้เล่นคนแรกจะต้องเคลื่อนไหวทั้งตัวโดยใช้แขนและขา (เช่น เอื้อมมือแตะเพดานหรือกระโดดตบ) ผู้เล่นคนอื่นจะเลียนแบบการเคลื่อนไหวดังกล่าว
- Warm-up dances (การเต้นอุ่นเครื่อง)
Beat by Beat Press มีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ รวมถึงกิจกรรมหนึ่งที่เรียกว่า Shake it off (การขยับร่างกาย) ในกิจกรรมนี้ ผู้เล่นจะต้องเขย่าแขนและขาเป็นลำดับตามจังหวะเพลง
หากคุณกำลังเล่นเกมการแสดงกับเด็กชั้นมัธยมศึกษา คุณสามารถลองทำกิจกรรมกลุ่มเหล่านี้จาก British Council นอกจากนี้ คุณยังสามารถเล่นเกมการแสดงเหล่านี้ได้แม้จะมีผู้เล่นเพียงสาม สี่ หรือห้าคน
วิธีสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ ผ่านการแสดงบทบาทสมมติ
เกมการแสดงบทบาทสมมติช่วยให้คุณและลูกๆ ได้ลองสวมบทบาทเป็นคนอื่น หรือคุณสามารถสำรวจโลกแห่งจินตนาการได้ โปรดจำไว้ว่าอย่า ‘ปิดกั้นความคิด’ ของเด็กๆ เช่น ถ้าเด็กๆ บอกว่ามีช้างสีฟ้าเดินเข้ามาในห้อง… ก็แค่เห็นด้วย ไม่สำคัญว่าเรื่องนั้นจะสมเหตุสมผลหรือไม่
ทางที่ดีควรมีสถานการณ์ต่างๆ ให้เลือก เผื่อกรณีที่เด็กๆ นึกบทบาทสมมติไม่ออก คุณอาจจดไอเดียไว้บนเศษกระดาษ แล้วใส่ลงในชามให้เลือก นี่คือตัวอย่างบางส่วน:
- คุณกำลังหัดเล่นสกีหรือโต้คลื่น
- คุณกำลังจะใช้วงล้อปั้นดินเผา
- คุณกำลังจะแนะนำเพื่อนให้รู้จักกับมังกรหรือเสือ ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ที่แสนวิเศษของคุณ
- คุณกำลังจะพาเพื่อนชมคฤหาสน์หรือวังสุดหรูของคุณ
- คุณกำลังจะเรียนภาษาอังกฤษ แต่ครูที่สอนคือลูกคุณเอง
- ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสถานการณ์การแสดงบทบาทสมมติที่ ThoughtCo
ทำไมไม่ลองเปลี่ยนเกมการแสดงบทบาทสมมติของคุณให้กลายเป็นกิจกรรมจริงจังดูล่ะ British Council มีกิจกรรมประดิษฐ์บัตรเชิญชมละคร เพื่อให้ลูกๆ ของคุณสามารถเชิญเพื่อนและครอบครัวมาร่วมชมการแสดงละครภาษาอังกฤษของพวกเขา
How to play ‘Yes, no, please, banana’
ในเกมนี้ คุณและลูกๆ จะสมมติสถานการณ์ที่มีความยาว 30 วินาทีขึ้นมาโดยใช้คำภาษาอังกฤษว่า ‘yes’, ‘no’, ‘please’ และ ‘banana’ ส่งเสริมให้เด็กๆ ใช้น้ำเสียงและการแสดงออกทางสีหน้าหลายๆ แบบ การแสดงควรจะดูสมจริง แม้ว่าเรื่องราวจะไม่สมเหตุสมผลเลยก็ตาม การที่เด็กๆ สามารถสร้างสรรค์เกมนี้ได้เป็นเรื่องน่าทึ่งมาก ลองดูตัวอย่างเหล่านี้ของ Yes, no, please, banana performances บน YouTube
หากคุณต้องการใช้ภาษามากขึ้น คุณสามารถแสดงในสถานการณ์ที่คุณสร้างขึ้นอีกครั้งโดยเพิ่มบทสนทนาเข้าไป เช่น เปลี่ยนจาก:
‘Banana?’
‘Yes. Banana.’
เป็น
‘Is that a banana?’
‘Yes, it’s a banana. Do you have a problem with that?’ (คุณมีปัญหากับเรื่องนั้นไหม)
ลูกๆ ของคุณจะเริ่มคิดถึงวิธีสื่อความหมายด้วยใบหน้าและภาษาท่าทาง พวกเขายังจะได้ฝึกพูดวลีภาษาอังกฤษที่ซับซ้อนมากขึ้น
เล่น ‘เกมคำถาม’
‘เกมคำถาม’ เหมาะสำหรับเด็กๆ ที่รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่บ้างแล้ว คุณเลือกสถานการณ์และเแสดงตามบทไปทีละบรรทัด สิ่งที่ท้าทายคือบทการแสดงทุกบรรทัดต้องเป็นคำถามภาษาอังกฤษ ผู้เล่นตอบกลับด้วยคำถามอื่น
ตัวอย่างเช่น:
‘Can I come in the house?’ (ฉันขอเข้าไปในบ้านได้ไหม)
‘Are your shoes clean?’ (รองเท้าของคุณสะอาดไหม)
‘Why would they be dirty?’ (ทำไมพวกเขาถึงสกปรก) … ลองดูสิว่าคุณจะได้คำถามกี่บรรทัด
กิจกรรมแสดงท่าทางฟรีเพื่อช่วยเด็กๆ ให้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ
หากลูกๆ ของคุณเพิ่งเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษ mime (การแสดงท่าทาง) เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมที่ทำให้เด็กๆ รู้จักคำศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ๆ ทีละน้อย เด็กๆ จะได้พัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษในไม่ช้า คุณยังสามารถใช้กิจกรรม mime (การแสดงท่าทาง) เหล่านี้กับผู้เรียนที่อยู่ในระดับสูงขึ้น โดย mime (การแสดงท่าทาง) สามารถช่วยให้เด็กๆ ต่อยอดจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่รู้อยู่แล้ว
- Sign language poetry (บทกวีภาษามือ)
ลูกๆ ของคุณไม่จำเป็นต้องรู้ภาษามือก็สามารถชื่นชมบทกวีที่สื่ออารมณ์เหล่านี้ได้ เพียงแค่สอนสัญลักษณ์ไม่กี่รูปแบบ แล้วพูดคำภาษาอังกฤษสองสามคำไปด้วยขณะทำกิจกรรมนั้น รับชม sign language poetry slam ครั้งแรกของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2017 เพื่อหาตัวอย่างที่จะลอง
- The English adverb game
ในเกมนี้ ให้ผู้เล่นคนหนึ่งเลือกกริยาวิเศษณ์ภาษาอังกฤษไว้ในใจ (เช่น quickly, clumsily, happily, slowly...) ผู้เล่นคนอื่นๆ สามารถขอให้ผู้เล่นดังกล่าวแสดงท่าทางอะไรก็ได้ (เช่น เดิน เต้น ทอดไข่ เป็นต้น) โดยใช้กริยาวิเศษณ์ที่คิดไว้ ทุกคนจะพยายามทายว่ากริยาวิเศษณ์ที่ถูกต้องคืออะไร
- Where are we?
ลองนึกถึงสถานที่ที่ลูกของคุณรู้จัก เลือกสถานที่ที่ไปด้วยกัน แสดงท่าทางของกิจกรรมต่างๆ ที่คุณทำในสถานที่นั้นๆ ลูกของคุณต้องทายว่าคุณอยู่ที่ไหน (เช่น สระว่ายน้ำหรือซูเปอร์มาร์เก็ต) หลังจากนั้นคุณสามารถสลับบทบาทได้
- What is it?
กิจกรรมนี้จะยิ่งดูน่าสนใจ หากคุณมีถุงเปล่าเป็นอุปกรณ์ประกอบ แสดงท่าทางหยิบสิ่งของในจินตนาการออกมาจากกระเป๋า (เช่น ลูกสุนัขตัวใหม่ ดินสอ แคร์รอต นาฬิกา…) และแสดงท่าทางการใช้สิ่งนั้น ลูกของคุณต้องทายว่าคุณมีอะไร
แหล่งข้อมูลฟรีสำหรับเกมการแสดงสำหรับเด็กๆ
คุณไม่จำเป็นต้องเป็นครูสอนการแสดงก็สามารถช่วยลูกๆ ของคุณเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการแสดงละครได้ ผู้ปกครองสามารถใช้ไอเดียง่ายๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ ใช้จินตนาการได้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลออนไลน์มากมาย ได้แก่ วิธีจัดการแสดงละครที่เหมาะสม และคำแนะเกี่ยวกับการพัฒนาตัวละคร คุณอาจจุดประกายให้ลูกๆ ของคุณเริ่มใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษมากขึ้นขณะทำการแสดง