ภาคต่อกับรูปแบบคำถามพร้อมคำตอบและเทคนิคในการทำข้อสอบ IELTS Reading
กลับมาเจอกันอีกแล้วสำหรับแฟนๆ บริติช เคานซิล ที่ตามอ่านบทความดีๆของเราที่จะคอยให้ความรู้ เทคนิค พร้อมทั้งทิปดีๆสำหรับการเตรียมตัวสอบ IELTS โดยในตอนที่แล้วเราได้อธิบายรูปแบบของคำถามและเทคนิคการคิดวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบสำหรับ IELTS part Reading กันไปซึ่งรูปแบบของคำถามที่เราพูดในตอนที่แล้วนั้นจะเป็นคำถามแนวการจับคู่ ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่ Heading กับ Paragraph, การจับคู่ข้อมูลที่โจทย์กำหนดกับ Paragraph และ การจับคู่ประโยคจบของแต่ละ Paragraph แล้วเพื่อนๆได้ลองนำไปใช้ในการเตรียมตัวสอบกันบ้างหรือไม่คะ มาในตอนนี้จะเป็นภาคต่อจากตอนที่แล้วโดยเรามีอีก 3 รูปแบบคำถามที่น่าสนใจมาให้แฟนๆบริติช เคานซิล ได้รับทราบกันค่ะ
1. True/False Not Given หรือ Yes/No Not Given Question Type
คำถามลักษณะนี้โจทย์มักจะกำหนดประโยคสั้นๆมาให้โดยให้ผู้สอบตอบว่าประโยคที่ให้มานั้นถูกหรือผิดหรือไม่ได้ให้ข้อมูลมาในเนื้อเรื่อง ทั้งนี้มันมักจะเป็นปัญหาสำหรับใครหลายๆคน เนื่องจากเกิดความสับสนว่าเมื่อไหร่จะตอบ “TRUE” หรือ “YES” เมื่อไหร่จะตอบ “FALSE” หรือ “NO” และเมื่อไหร่จะตอบ “NOT GIVEN” ยิ่งไปกว่านั้นบางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า “FALSE” หรือ “NO” มันแตกต่างกันอย่างไรกับคำว่า “NOT GIVEN” ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหาผู้สอบเข้าใจถึงความแตกต่างกันของแต่ละคำดังนี้
- “TRUE”/”YES”: ผู้สอบจะตอบว่า “TRUE” หรือ “YES” ได้ก็ต่อเมื่อ ประโยคที่กำหนดให้หรือคำถามที่ถามในข้อนั้นๆเป็นจริงสอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่ได้รับ โดยสังเกตว่าจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับที่โจทย์ถามในเนื้อเรื่องด้วย ถ้าหากไม่มีถึงแม้ว่ามันน่าจะเป็นความจริงหรือเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามความนึกคิดของผู้สอบเอง ผู้สอบก็ไม่สามารถตอบ “TRUE”/”YES” ได้
- “FALSE”/”NO” ผู้สอบจะตอบว่า “FALSE” หรือ “NO” ได้ก็ต่อเมื่อ ประโยคที่กำหนดให้หรือคำถามที่ถามในข้อนั้นๆ ขัดแย้งหรือไม่ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้รับ แต่ก็ต้องสังเกตเช่นกันว่าจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับที่โจทย์ถามในเนื้อเรื่องด้วย ถ้าหากไม่มีผู้สอบก็ไม่สามารถตอบ “FALSE”/”NO” ได้เช่นกัน
- “NOT GIVEN”: ผู้สอบจะตอบว่า “NOT GIVEN” ได้ก็ต่อเมื่อไม่มีเนื้อหาตรงตามที่โจทย์ถามในข้อนั้นๆเลย
ตัวอย่างเช่น “The growth of the elderly population is going to make it extremely difficult to Japanese government.”
เราตอบว่า “TRUE” ก็ต่อเมื่อการเพิ่มขึ้นของประชากรนั้นทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีความยากลำบากจริงๆตามที่เนื้อเรื่องกำหนด แต่เราจะตอบว่า “FALSE” หากมันไม่เป็นจริงนั่นก็คือมันไม่ได้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเกิดความยากลำบากโดยเนื้อเรื่องจะต้องมีการกล่าวด้วยว่ามันไม่ได้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นนั้นยากลำบากหรือมันไม่ใช่ปัญหาสำหรับรัฐบาลญี่ปุ่น แต่ทั้งนี้เราจะตอบว่า “NOT GIVEN” ได้ก็ต่อเมื่อในเนื้อเรื่องไม่ได้บอกว่ารัฐบาลญี่ปุ่นยากลำบากกับเรื่องนี้หรือปัญหานี้หรือไม่นั่นเอง
2. Multiple Choice Question type
คำถามในลักษณะนี้โจทย์จะให้คำถามและตัวเลือกแก่ผู้สอบเพื่อให้ผู้สอบเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากตัวเลือกที่กำหนดให้ ถึงแม้ว่าเป็นคำถามที่คุ้ยเคยสำหรับใครหลายๆคนแต่ก็มักจะสร้างปัญหาในแง่ของเวลาที่ใช้ในการตอบคำถามเนื่องจากมันมีจะมีรายละเอียดมากมายที่ต้องอ่านและตอบคำถาม โดยหากเรามีเทคนิคในการตอบคำถามที่ดีเราก้จะใช้เวลาไม่มากในการตอบคำถาม โดยเทคนิคในการตอบคำถามโจทย์ในรูปแบบนี้ก็คือ
- ให้อ่านเนื้อเรื่องโดยใช้การ Scan ก่อนพร้อมทั้งทำความเข้าใจในเบื้องต้นเพื่อให้ทราบว่าเนื้อเรื่องคืออะไรและ Flow ของเรื่องเป็นอย่างไร ซึ่งมันจะช่วยให้ผู้สอบทราบถึงตำแหน่งของเนื้อเรื่องที่ควรจะต้องอ่านแบบเจาะ Skim เมื่อได้อ่านคำถามที่โจทย์ถาม
- บ่อยครั้งที่โจทย์มักไม่ได้ถามคำถามและใช้คำศัพท์ที่ตรงกันกับเนื้อเรื่องที่โจทย์กำหนด ผู้สอบควรจะต้องใช้เทคนิคของการ paraphrase โจทย์และตัวเลือกเพื่อใช้ในการเลือกคำตอบ
- คำถามในลักษณะนี้มักจะเรียงลำดับตามเนื้อเรื่องที่ให้มา ดังนั้นมันจะช่วยให้เราทราบถึงตำแหน่งในการอ่านเจาะรายละเอียดได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้อย่าพยายามทำโจทย์ข้ามไปข้ามมาเพราะว่ามันจะทำให้ผู้สอบนั้นในเวลาในการหาตำแหน่งของเนื้อเรื่องที่สอดคล้องกับคำถามได้ยากขึ้น
3. Sentence completing Question Type
ให้อ่านเนื้อเรื่องโดยใช้การ Scan ก่อนพร้อมทั้งทำความเข้าใจในเบื้องต้นเพื่อให้ทราบว่าเนื้อเรื่องคืออะไรและ Flow ของเรื่องเป็นอย่างไร เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาที่ผู้สอบจะต้องเติมคำลงในช่องว่างนั้น ผู้สอบจะสามารถรู้ถึงตำแหน่งของเนื้อเรื่องที่ต้องไปอ่านและให้ความสนใจอีกครั้ง
- ไวยากรณ์เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆสำหรับรูปแบบคำถามประเภทนี้ เนื่องจากเมื่อผู้สอบจะต้องเลือกคำศัพท์ที่เหมาะสมที่จะต้องนำมาเติมลงในช่องว่างผู้สอบจะต้องรู้ว่าตำแหน่งที่จะต้องเติมนั้นมี part of speech เป็นอะไร เช่น เป็นคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษ เป็นต้น ทั้งนี้หากผู้สอบทราบถึงจุดนี้ผู้สอบก็จะตัดสินใจได้ถูกต้องในการเลือกคำที่จะนำมาเติมในช่องว่าง
- คำถามในลักษณะนี้เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่จะเรียงลำดับตามเนื้อเรื่องที่ให้มา ดังนั้นมันจะช่วยให้เราทราบถึงตำแหน่งในการอ่านเจาะรายละเอียดได้อีกทางหนึ่ง
- อ่านสิ่งที่โจทย์กำหนดมาให้ละเอียดว่าโจทย์กำหนดจำนวนคำหรือไม่ในการเติมคำลงในช่องว่า เช่น หากโจทย์กำหนดว่า no more than 2 words or a number ดังนั้นผู้สอบจะไม่สามารถเติมคำศัพท์ที่มากเกินว่า 2 words ได้
จบไปแล้วในตอนนี้สำหรับ 3 รูปแบบคำถามที่ บริติช เคานซิล ได้เตรียมไว้ในแฟนๆของเราได้ทราบถึงรายละเอียดและเทคนิคที่ใช้ในการคำโจทย์ในแต่ละรูปแบบ เราหวังว่าจะสามารถช่วยให้แฟนๆ บริติช เคานซิล ได้ band ที่สูงๆตามที่ตั้งใจเอาไว้กันนะคะ ทั้งนี้หากใครที่ต้องการเตรียมตัวสอบ IELTS เพิ่มเติม ที่บริติช เคานซิล เรามีคอร์สที่เตรียมไว้สำหรับคนที่ต้องการเตรียมสอบ IELTS โดยเฉพาะเพื่อเพิ่มเติมความมั่นใจในการสอบจริงค่ะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่