4 รูปแบบคำถามพร้อมทั้งเทคนิคการทำข้อสอบสำหรับ IELTS Reading
กลับมาเจอกันอีกครั้งสำหรับแฟนๆบริติช เคานซิลที่ตามอ่านบทความดีๆของเราที่จะคอยให้ความรู้ เทคนิค พร้อมทั้งทิปดีๆสำหรับการเตรียมตัวสอบ IELTS สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ 3 กันแล้วสำหรับภาคต่อของเรื่องเทคนิคการสอบ IELTS Reading เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เพื่อนๆได้นำไปใช้กันบ้างหรือไม่ เราเชื่อว่าหากเพื่อนๆได้นำไปใช้ในการเตรียมตัวแล้วละก็ คะแนน IELTS ในส่วนของ Part Reading ของเพื่อนๆต้องดีขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ เนื่องจากหากผู้ที่กำลังเตรียมตัวสอบทราบถึงรูปแบบของคำถามทั้งหมดที่ข้อสอบ IELTS มักจะนำมาออกข้อสอบกันบ่อยๆแล้วนั้น มันจะทำให้สามารถเตรียมรับมือกับข้อสอบได้อย่างดีเยี่ยมเมื่อถึงเวลาที่อยู่ในสนามสอบจริงค่ะ นอกจากนี้มันยิ่งช่วยให้การทำข้อสอบนั้นรวดเร็วขึ้นพร้อมทั้งลดข้อผิดพลาดจากความไม่แน่ใจเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตอบคำถามจริงอีกด้วยค่ะ ยังไงๆเพื่อนๆก็ลองนำเอาเทคนิคที่บริติช เคานซิลเราแนะนำไปใช้กันดูนะคะ และสำหรับในตอนนี้บริติช เคานซิลเราจะมีรูปแบบคำถามอีก 4 รูปแบบมาให้เพื่อนๆได้ศึกษากันค่ะ
1. Summary Completing Question Type:
- โจทย์ในลักษณะนี้จะกำหนดให้ผู้สอบต้องเติมคำลงในช่องว่างที่แทรกอยู่ในเนื่อเรื่องที่โจทย์ Summary มาให้ ถ้าหากพูดให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นก็คือ โจทย์จะให้เนื้อเรื่องที่เป็นการสรุปความจาก Reading Passage ที่ผู้สอบได้รับมาให้ โดยหน้าที่ของเราคือจะต้องเติมคำลงในช่องว่าที่โจทย์กำหนดเพื่อให้ได้ใจความที่เป็นข้อสรุปของ Reading Passage นั่นเอง ทั้งนี้เทคนิคสำหรับการทำโจทย์ในลักษณะนี้จะคล้ายกันกับเทคนิคสำหรับโจทย์ในรูปแบบของ Sentence completing นั่นเอง
- ให้อ่านเนื้อเรื่องโดยใช้การ Scan ก่อนพร้อมทั้งทำความเข้าใจในเบื้องต้นเพื่อให้ทราบว่าเนื้อเรื่องคืออะไรและ Flow ของเรื่องเป็นอย่างไร นอกจากนี้ผู้สอบควรที่จะต้องเข้าใจ Main Idea และ Supporting Idea ของ Reading Passage นั้นๆอีกด้วย เราต้องท่องเอาไว้เสมอว่านี่เป็นโจทย์ในลักษณะของการเติมคำลงในช่องว่างที่มีเนื้อหาคือการสรุปความจาก Reading Passage เพื่อให้เราตระหนักว่าต้องหยิบยกความศัพท์ที่เป็นใจความหลักของเรื่องมาตอบนั่นเอง
- ไวยากรณ์เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆสำหรับรูปแบบคำถามประเภทนี้ เนื่องจากเมื่อผู้สอบจะต้องเลือกคำศัพท์ที่เหมาะสมที่จะต้องนำมาเติมลงในช่องว่างผู้สอบจะต้องรู้ว่าตำแหน่งที่จะต้องเติมนั้นมี part of speech เป็นอะไร เช่น เป็นคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษ เป็นต้น ทั้งนี้หากผู้สอบทราบถึงจุดนี้ผู้สอบก็จะตัดสินใจได้ถูกต้องในการเลือกคำที่จะนำมาเติมในช่องว่าง
- คำถามในลักษณะนี้เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่จะเรียงลำดับตามเนื้อเรื่องที่ให้มา ดังนั้นมันจะช่วยให้เราทราบถึงตำแหน่งในการอ่านเจาะรายละเอียดได้อีกทางหนึ่ง
- อ่านสิ่งที่โจทย์กำหนดมาให้ละเอียดว่าโจทย์กำหนดจำนวนคำหรือไม่ในการเติมคำลงในช่องว่า เช่น หากโจทย์กำหนดว่า no more than 2 words or a number ดังนั้นผู้สอบจะไม่สามารถเติมคำศัพท์ที่มากเกินว่า 2 words ได้
2. Table Completing Question Type:
โจทย์ในลักษณะนี้คือต้องการให้ผู้สอบเติมคำลงในตารางที่โจทย์กำหนดให้อย่างถูกต้อง โดยเทคนิคสำหรับการทำโจทย์ในรูปแบบนี้ก็ไม่ได้แตกต่างกับเทคนิคการทำโจทย์ในรูปแบบของ Summary Completing Question Type ที่อธิบายไปแล้วในข้อ 1 มากนัก โดยจะมีที่เพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆเรื่องของการทำความเข้าใจกับตารางที่โจทย์ต้องการให้เติมคำลงในช่องว่างในตารางเท่านั้น ซึ่งเทคนิคสำหรับการทำโจทย์ในรูปแบบนี้มีดังนี้
เริ่มจากอ่านเนื้อเรื่องโดยใช้การ Scan ก่อนพร้อมทั้งทำความเข้าใจในเบื้องต้นเพื่อให้ทราบว่าเนื้อเรื่องคืออะไรและ Flow ของเรื่องเป็นอย่างไร จากนั้นให้ไปดูตารางที่โจทย์กำหนดให้ว่าผู้สอบจะต้องเติมข้อมูลในส่วนใดของเรื่องเพื่อจะได้ทราบว่าจะต้องไปเจาะลึกลงรายละเอียดที่ตำแหน่งใดของ Reading Passage นั่นเอง โดยสิ่งที่ควรจะต้องสังเกตจากตารางมีดังนี้คือ
- Column ของตาราง
- ชนิดของคำศัพท์ที่จะต้องเติมลงในตาราง
- จำนวนคำที่จะสามารถเติมได้ (อ่านโจทย์ให้ละเอียดเพื่อให้ทราบข้อกำหนดในการตอบคำถาม)
- คำถามในลักษณะมักจะมีเนื้อหาที่ผู้สอบจะต้องเจาะลึกลงรายละเอียดเพียงแค่ Paragraph ใด Paragraph หนึ่งเท่านั้น ดังนั้นพยายามหา Keyword ให้ดีเพื่อให้สามารถเลือก Paragraph ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้สอบนั้นทำข้อสอบได้เร็วขึ้นอีกด้วย
3. Flow Chart Completing Question Type:
โจทย์ในลักษณะนี้คือต้องการให้ผู้สอบเติมคำลงใน Flow Chart ที่โจทย์กำหนดให้อย่างถูกต้อง โดยเทคนิคสำหรับการทำโจทย์ในรูปแบบนี้ก็ไม่ได้แตกต่างกับเทคนิคการทำโจทย์ในรูปแบบของ Table Completing Question Type ที่อธิบายไปแล้วในข้อ 2 มากนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจและที่แตกต่างกันคือ รายละเอียดของ Flow Chart และ detail ของเนื้อเรื่องด้วย เนื่องจากการเติมข้อมูลลงใน Flow Chart นั้น ลำดับขั้นตอนเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้น ผู้สอบจะต้องทราบถึง Flow ของเนื้อเรื่องและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนด้วย ซึ่งเทคนิคสำหรับการทำโจทย์ในรูปแบบนี้มีดังนี้
- เริ่มจากอ่านเนื้อเรื่องโดยใช้การ Scan ก่อนพร้อมทั้งทำความเข้าใจในเบื้องต้นเพื่อให้ทราบว่าเนื้อเรื่องคืออะไรและ Flow ของเรื่องเป็นอย่างไร จากนั้นให้ไปดู Flow Chart ที่โจทย์กำหนดให้ว่าผู้สอบจะต้องเติมข้อมูลอะไรหลังจากนั้นผู้สอบจะทราบถึงตำแหน่งของเนื้อหาใน Reading Passage ที่ผู้สอบจะต้องไปอ่านเจาะรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง โดยสิ่งที่ควรจะต้องสังเกตจาก Flow Chart คือ
- ลูกศรและ Direction ของ Flow Chart
- ชนิดของคำศัพท์ที่จะต้องเติมลงใน Flow Chart
- จำนวนคำที่จะสามารถเติมได้ (อ่านโจทย์ให้ละเอียดเพื่อให้ทราบข้อกำหนดในการตอบคำถาม)
- คำถามในลักษณะนี้ไม่เหมือนกับคำถามในลักษณะหลายๆรูปแบบที่มักจะเรียงคำตอบตาม Order จาก Reading Passage เนื่องจากมันจะไม่เป็นไปตามลำดับของ Reading Passage ที่โจทย์กำหนด หากแต่มันจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของ Flow Chart แทนนั่นเอง
4. Diagram Label Completing Question Type:
โจทย์ในลักษณะนี้มักจะให้เติม Label ลงในรูป Diagram ที่โจทย์กำหนด ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปแบบนี้จะคล้ายคลึงกับรูปแบบนข้อ 3 คือ Flow Chart Completing Question Type แต่ที่แตกต่างกันคือโจทย์ในลักษณะนี้จะไม่ได้คำนึงถึงลำดับเหมือนกับรูปแบบโจทย์ของ Flow Chart ซึ่งเทคนิคสำหรับการทำโจทย์ในรูปแบบนี้มีดังนี้คือ
อ่านเนื้อเรื่องโดยใช้การ Scan ก่อนพร้อมทั้งทำความเข้าใจในเบื้องต้น จากนั้นให้ไปดู Diagram ที่โจทย์กำหนดให้ว่าผู้สอบจะต้องเติมข้อมูลอะไรหลังจากนั้นผู้สอบจะทราบถึงตำแหน่งของเนื้อหาใน Reading Passage ที่ผู้สอบจะต้องไปอ่านเจาะลงรายละเอียดอีกครั้งโดยสิ่งที่ควรจะต้องสังเกตจาก Diagram คือ
- รูปภาพที่โจทย์กำหนดว่าเป็นเรื่องอะไร พยายามนึกภาพตามว่าสิ่งที่โจทย์กำหนดนั้นอยู่ในตำแหน่งใดใน Reading Passage
- ชนิดของคำศัพท์ที่จะต้องเติมลงในตาราง
- จำนวนคำที่จะสามารถเติมได้ (อ่านโจทย์ให้ละเอียดเพื่อให้ทราบข้อกำหนดในการตอบคำถาม)
- คำถามในลักษณะนี้เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่คำตอบจะไม่ได้เรียงตามลำดับจาก Reading Passage หากแต่ถ้าผ็สอบสามารถตอบได้เรียงตามลำดับจาก Reading Passage ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่จำเป็นต้องไป Strick กับลำดับมากนัก
- เลือกทำข้อที่ผู้สอบมั่นใจก่อน ทั้งนี้เมื่อเราสามารถเติมคำได้มากขึ้นเท่าไหร่มันจะช่วยทำให้ผู้สอบสามารถเดาคำตอบในข้อถัดๆไปได้ดีขึ้นอีกด้วย
- คำถามในลักษณะมักจะมีเนื้อหาที่ผู้สอบจะต้องเจาะลึกลงรายละเอียดเพียงแค่ Paragraph ใด Paragraph หนึ่งเท่านั้น ดังนั้นพยายามหา Keyword ให้ดีเพื่อให้สามารถเลือก Paragraph ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้สอบนั้นทำข้อสอบได้เร็วขึ้นอีกด้วย
จบไปแล้วในตอนนี้สำหรับ 4 รูปแบบคำถามที่บริติช เคานซิลได้เตรียมไว้ในแฟนๆของเราได้ทราบถึงรายละเอียดและเทคนิคที่ใช้ในการคำโจทย์ในแต่ละรูปแบบ เราหวังว่าจะสามารถช่วยให้แฟนๆบริติช เคานซิลได้ band ที่สูงๆตามที่ตั้งใจเอาไว้กันนะคะ ทั้งนี้หากใครที่ต้องการเตรียมตัวสอบ IELTS Coach Boost เพิ่มเติม ที่บริติช เคานซิลเรามีคอร์สที่เตรียมไว้สำหรับคนที่ต้องการเตรียมสอบ IELTS Coach Boost โดยเฉพาะเพื่อเพิ่มเติมความมั่นใจในการสอบจริงค่ะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่