โครงการทุนความร่วมมือทางวัฒนธรรม  (Connections Through Culture) มีขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ระหว่างเอเชียตะวันออกและสหราชอาณาจักร โดยสนับสนุนโครงการและความร่วมมือใหม่ ๆ ของศิลปินและองค์กรทางวัฒนธรรม ไม่ว่าโครงการเหล่านั้นจะอยู่ในขั้นตอนใดของการพัฒนา 

ทุนความร่วมมือทางวัฒนธรรม  (Connections Through Culture) ในรอบนี้มุ่งเน้นที่ 2 ประเด็น ได้แก่ ความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน (Diversity and Inclusion) และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศและข้ามประเภทศิลปะจะนำไปสู่ความคิดและแนวทางใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับโลก

ทุนนี้สนับสนุนความสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยน และความร่วมมือใหม่ ๆ อีกทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระยะยาวระหว่างศิลปิน ผู้ประกอบอาชีพด้านวัฒนธรรม ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ตลอดจนองค์กร ศูนย์ เครือข่าย และกลุ่มศิลปะและวัฒนธรรมต่าง ๆ อีกด้วย  

ผู้ได้รับทุนประจำปี 2023 ในประเทศไทย

LAB X: การแลกเปลี่ยนศิลปินนานาชาติ

สหราชอาณาจักร: Artsadmin/ อาร์ตส์แอดมิน

ประเทศไทย: มูลนิธิครีเอทีฟไมเกรชั่น (อีสต์) 

LAB X คือโครงการพัฒนาศิลปินระยะเวลา 9 เดือน โดย Artsadmin และ Bangkok 1899 เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยโครงการศิลปินและโปรดิวเซอร์ในพำนัก การสนทนาแลกเปลี่ยน การให้คำปรึกษา ซึ่งให้ความสำคัญกับความต้องการของชุมชนและการจัดการศิลปะอย่างถูกจริยธรรม นำเสนอการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและศิลปะแบบองค์รวมเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง วิกฤตสภาพภูมิอากาศ และโควิด-19

Recycling Music: บทเพลงสำหรับฮอร์นและวัสดุรีไซเคิล

สหราชอาณาจักร: ริชาร์ด บิสซิลล์

ประเทศไทย: คมสัน ดิลกคุณานันท์ 

โครงการนี้เป็นความร่วมมือของนักดนตรีเฟรนช์ฮอร์น คมสัน ดิลกคุณานันท์ และนักประพันธ์ ริชาร์ด บิสซิลล์ โดยใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างบทประพันธ์ดนตรีเพื่อแสดงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะนำไปแสดงในเทศกาลดนตรีนานาชาติปี 2024 ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ใกรุงเทพฯ รวมถึงจัดเวิร์กช็อปเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของนักเรียนดนตรีที่ด้อยโอกาสอีกด้วย 

Soft Shapeshifters: ความร่วมมือด้านสิ่งทอปฏิสัมพันธ์

สหราชอาณาจักร: ไบน์ รอธ 

ประเทศไทย: วุฒิไกร ศิริผล 

โครงการ Soft Shapeshifters นำการออกแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive design) มาผสมผสานกับผ้าทอพื้นบ้าน โครงการนี้ประกอบด้วยการทำงานร่วมกันในที่พำนัก เวิร์กช็อปด้านประสาทสัมผัส และนิทรรศการ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนความรู้ ตลอดจนการกำหนดขอบเขตใหม่ให้สิ่งทอ โดยขยายผลผ่านโครงการให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมการแบ่งปันความรู้และการเติบโตของวัฒนธรรม 

SoundSculpt: การสำรวจความหลากหลายทางเสียง

สหราชอาณาจักร: โจเอล เอฟ เคิร์ก 

ประเทศไทย: ปิยวัฒน์ หลุยลาภประเสริฐ 

การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่ผสมผสานวัฒนธรรมชนบทกับวัฒนธรรมอุตสาหกรรมของเมืองแมนเชสเตอร์และกรุงเทพฯ ผ่านดนตรีและศิลปะ ประกอบด้วยการแสดงดนตรี การเสวนา เวิร์กช็อป และการทำงานทดลอง เพื่อค้นหาประเด็นทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน รวมถึงเทคโนโลยีที่กำลังวิวัฒนาการ ตลอดจนการทำงานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร

Thai Khon x Contemporary MR: โขนไทย x คอนเทมโพรารี่ เอ็มอาร์

สหราชอาณาจักร: Katie Dale-Everett Dance/ เคธี่ เดล-เอเวอเร็ท แดนซ์

ประเทศไทย: ซูฟีย์ ยามา 

โครงการนี้ผสมผสานโขนเข้ากับนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุด เช่น การผสมผสานโลกเสมือนกับโลกจริง (Mixed Reality) การจับการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Motion Capture) การติดตามการเคลื่อนไหวแบบเต็มตัว (Full-body Tracking) และการเรียนรู้ของ AI เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการแสดงออกทางศิลปะในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

The Unsung Lyric of Ping: บทเพลงที่ไม่ได้ขับขานแห่งแม่น้ำปิง

สหราชอาณาจักร: เฮเลน กัญญา บราวน์ 

ประเทศไทย: ส้ม ศุภปริญญา 

ภาพยนตร์สั้นแนวทดลองนี้สำรวจเรื่องราวและประวัติศาสตร์ที่หายไปของแม่น้ำปิง ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบจากอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กระบวนการทดลองนี้ผสมผสานการบันทึกเสียงภาคสนาม บทเพลงพื้นบ้าน และการใช้ภาพเล่าเรื่อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านความเปลี่ยนแปลงของทางสังคมและสิ่งแวดล้อมและปัญหาที่เกิดกับแม่น้ำปิง 

Theatre of Care: แนวปฏิบัติอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

สหราชอาณาจักร: พอล เบอร์เจส 

ประเทศไทย: BIPAM (ไบแพม)

โครงการนี้นำเสนอแนวทางปฏิบัติเพื่อวงการละครที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ผ่านการจัดเวิร์กช็อป การเสวนา และการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานละครในท้องถิ่นยอมรับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยไม่กระทบต่อความคิดสร้างสรรค์ 

Whispering Nature: ธรรมชาติกระซิบ

สหราชอาณาจักร: ไมเคิล แฟร์แฟกซ์ 

ประเทศไทย: คณะละครพระจันทร์พเนจรและการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด 

โครงการความร่วมมือของประติมากรชาวอังกฤษ ไมเคิล แฟร์แฟกซ์ กับศิลปินชาวไทย มณฑาทิพย์ สุขโสภา (ทิพย์) และสุจิตรา ประเสริฐ (ปาน) แห่ง เทพศิริครีเอทีฟสเปซ และคณะละครพระจันทร์พเนจรและการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด ด้านปัญหามลภาวะทางอากาศในเชียงใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผลงานที่สะท้อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านการสนทนาแลกเปลี่ยน การแบ่งปันทักษะ และการมีส่วนร่วมของประชาชน

แม่น้ำ: River Her Stories

สหราชอาณาจักร: SPARC ศูนย์การปฏิบัติและวิจัยด้านเสียงแห่งมหาวิทยาลัยซิตี้ 

ประเทศไทย: สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

โครงการนี้จะสำรวจผลกระทบของมลภาวะทางน้ำต่อชุมชนเมืองในกรุงเทพฯ และกรุงลอนดอน โดยศึกษาแม่น้ำสายสำคัญในอดีตซึ่งได้หล่อหลอมเมือง และศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพฯ และกรุงลอนดอนผ่านการบันทึกบทสนทนา การบันทึกเสียงภาคสนาม และเสียงอื่น ๆ ผ่านศิลปิน 4 คนที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์เพื่อให้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงของกันและกันและเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง

ไลฟ์มิวส์ /LIFE MUSE: การประสานระหว่างวัฒนธรรม /Cross-Cultural Collaboration

สหราชอาณาจักร: เซ็นทราลา ซี.ไอ.ซี /Centrala CIC

ประเทศไทย: บ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม 

โครงการร่วมมือระหว่างวัฒนธรรมนี้เน้นที่การนำเสนอตัวตนและการไม่แบ่งแยกกันของชนกลุ่มน้อย โดยมีกิจกรรมทั้งแบบออนไลน์และแบบพบกัน รวมถึงเวิร์กชอป การสัมมนา และนิทรรศการ เซ็นทราลา /Centrala และบ้านนอกจะร่วมมือกันในโครงการที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ การพำนักระยะสั้น ตลอดจนการผลิตศิลปะร่วมกันระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทย