โครงการศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ของบริติช เคานซิลตอบสนองต่อเป้าหมายของรัฐบาลไทยในการผลักดันประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ซึ่งมุ่งเน้นโครงสร้าง ”เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยผ่านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีดิจิทัล

คำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2544 และสหราชอาณาจักรตระหนักถึง บทบาทของความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และบทบาทของศูนย์กลางความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การไม่แบ่งแยกทางสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนในเมืองต่างๆ บริติช เคานซิลทำงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ในทวีปยุโรปและสหราชอาณาจักรมาหลายปีแล้ว และยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้น โครงการเมืองสร้างสรรค์ของบริติช เคานซิล ประเทศไทย จึงมุ่งพัฒนาศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การวิจัย สื่อตีพิมพ์ การฝึกอบรม การประชุมและการเสวนาระดับประเทศในเรื่องหัวข้อศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์ ร่วมกับพันธมิตร เช่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เพื่อนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย

In this section

ภาพยนตร์และสื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์

บริติช เคานซิล ร่วมกับสำนักข่าว The Standard จัดทำภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์ในสหราชอาณาจักร และนิตยสาร The Standard ฉบับศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์

คู่มือสร้างศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์

คู่มือสร้างศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์จัดทำโดยบริติช เคานซิลเพื่อให้ความรู้อย่างเป็นขั้นตอนสำหรับผู้ต้องการก่อตั้งและพัฒนาศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์

งานวิจัยเรื่องย่านวัฒนธรรมและย่านสร้างสรรค์ในประเทศไทย

งานวิจัยเรื่องย่านวัฒนธรรมและย่านสร้างสรรค์ 4 แห่งในประเทศไทย โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Northumbria ในสหราชอาณาจักร สถาบัน RMIT ในออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

งานวิจัยเรื่องผลกระทบทางสังคมของศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทย

งานวิจัยมุ่งเน้นกรณีศึกษาเรื่องผลกระทบทางสังคมที่ชัดเจน อันเกิดจากศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ในชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย