ผู้ชนะเลิศ โครงการ School Lab ประเทศไทย ปี 2017 เข้าร่วม Cheltenam Science Festival ณ สหราชอาณาจักร

พบประสบการณ์ของ นาย ธนภัทร ถนอมดำรงศักดิ์ หรือ น้องบิ๊กบอส ผู้ชนะเลิศจากเวทีเฟ้นหาสุดยอดนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัทธยมศึกษาตอนปลาย โครงการ School Lab ประเทศไทย ปี 2017 โดยผู้ชนะได้เดินทางไปเข้าร่วมชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์สุดยิ่งใหญ่ Cheltenam Science Festival  และการแข่งขัน FameLab international ที่เมื่อง Cheltenam สหราชอาณาจักร เมือเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ติดตามข่ามสารและอัพเดทเกี่ยวกับการเปิดรับสมัครโครงการในปีที่จะถึงนี้ได้ที่นี่

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ โครงการ School Lab ประเทศไทย ปี 2017

ขอเชิญเข้าชมการแข่งขันเล่าเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ โครงการ School Lab ปี 2017

มาร่วมเป็นกำลังใจให้ผู้เข้ารอบ 11 คนสุดท้ายพร้อมกัน

วันที่: พฤหัสบดี 4 พฤษภาคม 2560

การแข่งขันเริ่มเวลา: 10.00 น. (เปิดลงทะเบียน: 09.30 - 10.00 น.)

สถานที่: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ชั้น 5, ห้อง ออดิทอเรียม

โครงการ School Lab

โครงการ School Lab มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าใจและชื่นชอบความท้าทายทางด้านวิทยาศาสตร์ และพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาความมั่นใจและทักษะในการนำเสนอความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์อีกด้วย

โครงการ School Lab ประเทศไทย เปิดรับสมัครสำหรับเด็กไทยอายุ 15-18 ปี (มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า) โดยนักเรียนจะต้องได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ในการสมัครเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ภายใน 3 นาที ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรรค์ และครอบคลุม โดยสามารถใช้อุปกรณ์ประกอบ ร้อง เล่น เต้นรำ ยกเว้นการใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคณะกรรมการจะตัดสินภายใต้กฎ 3 ข้อ คือ เนื้อหาชัดเจน ครบถ้วน และน่าสนุก 

ผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย จะได้เข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ และเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ณ กรุงเทพมหานคร ผู้ชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษาและได้เดินทางไปเข้าร่วมนิทรรศการวิทยาศาสตร์ระดับโลก Cheltenham Science Festival ณ สหราชอาณาจักร โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากโครงการทั้งหมด 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ

  • เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและความมั่นใจให้กับนักเรียน
  • เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความน่าสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยี
  • ผู้ชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษา 10,000 บาท และได้รับสิทธ์ในเดินทางไปเข้าร่วมนิทรรศการวิทยาศาสตร์ระดับโลก Cheltenham Science Festival ณ สหราชอาณาจักร โดยค่าใช้จ่ายได้รับการสนับสนุนจากโครงการทั้งหมด 
  • ผู้ชนะรองอันดับ 1 จะได้รับทุนการศึกษาจำนวน 5,000 บาท และผู้ชนะรองอันดับ 2 จะได้รับทุนการศึกษาจำนวน 2,500 บาท

รูปแบบการแข่งขัน

1. เข้าร่วม Roadshow ตามภูมิภาค – ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ School Lab และเรียนรู้ทักษะการนำเสนอด้านวิทยาศาสตร์จากผู้เข้าแข่งขัน Famelab 2016 หรือ ทูตสะเต็ม หากสนใจสามารถลงทะเบียนได้ ทีนี่

 

จังหวัด วันที่ สถานที่    ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน วันปิดลงทะเบียนสำหรับ roadshow
กรุงเทพฯ 15 ม.ค. 2560 รอยัล พารากอน ฮอลล์ 3 คลิกที่นี่ 13 ม.ค. 2560
ขอนแก่น 25 ม.ค. 2560

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ห้องประชุมสิริคุณากร 3 อาคารสิริคุณากร (สำนักงานอธิการบดีใหม่ ชั้น 2)

คลิกที่นี่ 23 ม.ค. 2560
สุราษฎร์ธานี 4 ก.พ. 2560 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  คลิกที่นี่ 1 ก.พ. 2560
ปทุมธานี 11 ก.พ. 2560 สวทช. คลิกที่นี่ 8 ก.พ. 2560

2. สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน – นำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ภายใน 3 นาที

    - ออดิชั่นทางวิดีโอ: ส่งวิดีโอผ่านท่างเว็บไซต์ เปิดรับสมัครถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560

3. ผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย เข้าร่วมการอบรมการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ – พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารจากผู้เชี่ยวชาญ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนๆ

    - อบรมการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์: 1-2 เมษายน 2560

4. ผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย เข้าร่วมการแข่งขัน School Lab รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ –นำทักษะที่ได้มาใช้ในการนำเสนอ และสร้างเสริมประสบการณ์ในการสื่อสารต่อหน้าผู้ฟังแบบสดๆ อีกทั้งลุ้นรับทุนการศึกษามากมาย

    - การแข่งขันรอบตัดสิน: 29 เมษายน 2560

5. ผู้ชนะเลิศเดินทางไปนิทรรศการวิทยาศาสตร์ระดับโลก ณ สหราชอาณาจักร – เข้าร่วมนิทรรศการวิทยาศาสตร์ Cheltenham Science Festival และชมการแข่งขัน FameLab ระดับนานาชาติ

    - นิทรรศการวิทยาศาสตร์ระดับโลก ณ สหราชอาณาจักร: มิถุนายน 2560

คุณมีคำถามหรือข้อสงสัยใช่หรือไม่? สามารถดูคำถามที่พบบ่อยได้ด้านล่างนี้:

สำหรับผู้สมัคร

ผู้สมัครเป็นใคร?

เยาวชนอายุ 15-18 ปี (มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า)

ที่ปรึกษาเป็นใคร?

อาจารย์หรือผู้ปกครองในกรณีที่เป็นเด็ก Home-School ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนนักเรียนในการเตรียมตัวและสมัครเข้าแข่งขัน รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานและพี่เลี้ยงตลอดระยะเวลาการแข่งขัน

นักเรียนต้องใช้ภาษาใดในการนำเสนอ?

การนำเสนอจะต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น ในการนำเสนอภายใน 3 นาที

หัวข้อในการนำเสนอ

หัวข้อใดบ้างที่นักเรียนสามารถนำเสนอได้?

หัวข้อเกี่ยวกับ STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์)

ตัวอย่างหัวข้อได้แก่อะไรบ้าง?

เซลล์คืออะไร? ทำไมท้องฟ้าถึงเป็นสีฟ้า? ทำไมช็อคโกแลตถึงให้พลังงาน? อะไรคือหลุมดำ? เป็นต้น

ผู้ใดที่จะช่วยนักเรียนในการเลือกหัวข้อ?

อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยนักเรียนในการเลือกหัวข้อได้ 

หากเข้าร่วม Roadshow และ การอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ จะมีผู้เข้าแข่งขัน FameLab 10 คนสุดท้าย และ/หรือ STEM Ambassadors มาช่วยแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการนำเสนอ และ Tips ต่างๆ

รูปแบบของวิดีโอ

บันทึกวิดีโออย่างไร?

- วิดีโอยาวต่อเนื่องจนจบ ไม่อนุญาตให้มีการตัดต่อ หรือใส่เอฟเฟคใดๆ

- หัวข้อและแนวคิดในการนำเสนอจะต้องเป็นของตนเอง หากพบว่ามีการคัดลอกหรือเลียนแบบจะส่งผลให้ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน

สามารถนำเสนอการทดลองได้หรือไม่?

นักเรียนสามารถทำการทดลองได้ (โดยต้องทำทุกอย่างด้วยตนเอง) ในวิดีโอ ซึ่งนักเรียนสามารถทำเป็นบทละคร หรือบทกลอน ได้อีกด้วย

สามารถนำเสนอสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (PowerPoint) ได้หรือไม่?

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (PowerPoint) หรือ ตัวหนังสืออื่นใด ไม่อนุญาตให้ใส่ในวิดีโอ แต่สามารถใช้อุปกรณ์ในการนำเสนอประกอบ ร้อง เล่น เต้นรำ อย่างสร้างสรรค์และสนุกสนานได้

วิดีโอควรเป็นภาษาใด และมีความยาวเท่าไร?

การนำเสนอจะต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น โดยมีความยาวไม่เกิน 3 นาที

ไฟล์วิดีโอควรเป็นไฟล์ชนิดใด? 

ไฟล์วิดีโอควรจะเป็น mp4, mov หรือ avi ที่สามารถอัพโหลดลง YouTube หรือ เว็บไซต์ฝากไฟล์อื่นๆได้ โดยมีขนาดไม่เกิน 2 GB

การส่งวิดีโอ

ส่งวิดีโอออดิชั่นอย่างไร?

เราแนะนำให้นักเรียนที่ต้องการจะสมัครเข้าแข่งขันมาเข้าร่วม roadshow ใด roadshow หนึ่ง ก่อนที่จะทำการอัดวิดีโอและส่งวิดีโอเพื่อสมัครเข้าแข่งขัน เพื่อเข้ารับฟัง Tips หรือข้อแนะนำในการเตรียมตัวเข้าร่วมแข่งขัน

โดยในการสมัครเข้าแข่งขันออนไลน์นั้นจะรวมถึงการใส่ URLของวิดีโอมาพร้อมด้วย

ในการสมัครจะต้องมีใบยินยอมจาก อาจารย์ นักเรียน และผู้ปกครอง ที่แนบมาพร้อมกับลิงค์วิดีโอ มิฉะนั้นจะถือว่าการสมัครไม่สมบูรณ์และจะถูกตัดสิทธิ์

ทั้งนี้ ผู้จัดงานมีลิขสิทธิ์ในวิดีโอที่ส่งทั้งหมดและขอสงวนสิทธิ์ที่จะใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์

หมดเขตรับสมัครเมื่อไร?

สามารถส่งวิดีโอได้ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 24.00 น. ประเทศไทย

การคัดเลือกผู้เข้ารอบ

วิดีโอจะถูกตัดสินอย่างไร?

วิดีโอจะถูกคัดเลือกโดยเหล่าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ โดยการนำเสนอจะตัดสินภายใต้กฎ 3 ข้อ คือ เนื้อหาชัดเจน ครบถ้วน และน่าสนุก ดังนั้นการนำเสนอจะต้องถูกต้อง น่าสนใจ และเข้าใจง่าย

10 วิดีโอที่คณะกรรมการเลือกจะได้รับการโพสต์ลงช่องยูทูปของบริติช เคานซิล ประเทศไทย

การชิงชนะเลิศระดับประเทศ

หลังจากเข้ารอบจะเกิดอะไรขึ้น?

นักเรียนที่เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย จะได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2560 จากนั้นจะต้องเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ที่จะได้นำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ ต่อหน้าคณะกรรมการและผู้ฟังจำนวนมาก

นักเรียนทุกคนจะต้องมีผู้ดูแลที่จะต้องติดตามในการอบรมตลอดจนการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

สำหรับค่าใช่จ่ายในการเดินทางและที่พักสำหรับนักเรียนที่เข้ารอบ จะได้รับการสนับสนุนจากผู้จัดทั้งในการเข้าร่วมอบรมตลอดจนการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

นักเรียนสามารถเปลี่ยนหัวข้อที่จะนำเสนอในรอบชิงชนะเลิศได้หรือไม่?

นักเรียนสามารถใช้หัวข้อเดิมจากในรอบคัดเลือกหรือเลือกหัวข้อใหม่ ในการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ 

โดยจะต้องนำเสนอเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ภาษาใดภาษาหนึ่ง ภายใน 3 นาที ซึ่งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ได้โดยที่นักเรียนจะต้องสามารถถือขึ้น-ลงเวทีได้ด้วยตนเอง

เกณฑ์การติดสินในรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศมีอะไรบ้าง?

คณะกรรมการจะตัดสินการนำเสนอภายใต้กฎ 3 ข้อ คือ เนื้อหาชัดเจน ครบถ้วน และน่าสนุก ดังนั้นการนำเสนอจะต้องถูกต้อง น่าสนใจ และทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย