สหราชอาณาจักรมีที่พิเศษในประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์มาตลอด ประเทศของเรามีนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดที่โลกจะไม่เคยลืมชื่อของพวกเขา อาทิ ไอแซค นิวตัน ชาร์ล ดาร์วิน โรซาลิน แฟรงคลิน และสตีเฟ่น ฮอคคิง เรียกได้ว่าเราค้นพบสิ่งใหม่ทางวิทยาศาสตร์มากมายตั้งแต่ก้าวแรกที่คนจะรู้จักกับมัน อีกทั้งใช้การค้นพบเหล่านั้นในการบุกเบิกเทคโนโลยีและสร้างองค์ความรู้ในทุก ๆ ด้านของชีวิตที่โลกต้องจดจำ จึงไม่น่าแปลกใจที่งานวิจัยของสหราชอาณาจักรจะมีคุณภาพเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีจำนวนการผลิตงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์มากเป็นอันดับสามของโลก มีเจ้าของรางวัลโนเบลถึง 91 คนเป็นคนอังกฤษหรือเคยศึกษาในสหราชอาณาจักรมาก่อน รู้ใช่หรือไม่ว่ามหาวิทยาลัยของเราตอนนี้ มีนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังจะสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมในอนาคต!
University of Southampton: การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงชีวิต: ประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2564
เวลา 15.30-16.45 น.
ผู้บรรยาย: Prof Craig Hutton, Professor of Sustainability Science, School of Geography and Environmental Science, University of Southampton
เกี่ยวกับ Masterclass:
ปัจจุบันประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอัตราสูง ด้วยจำนวนประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่ตามแนวชายฝั่ง การพึ่งพาการเกษตรกรรมและทรัพยากรน้ำในระดับสูง การรับมือการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความถี่ และความรุนแรงที่มากขึ้นของสภาพอากาศสุดขั้ว จึงต้องมีการวางแผนพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัว อาจมีการบันทึกข้อมูลทั้งในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นไว้ แต่ยังไม่ได้นำมารวมเข้ากับกรอบการประเมินความเสี่ยงเชิงระบบที่มีประสิทธิภาพ โดยความเสี่ยงที่กล่าวถึงนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนของประเทศ
School of Geography and Environmental Science มหาวิทยาลัย Southampton นำทีมนักวิจัยจากสหราชอาณาจักร เวียดนาม และไทย ซึ่งได้รับทุนจาก British Council ในการหาวิธีการสร้างขีดความสามารถภายในประเทศ เพื่อระบุข้อมูล สร้างแบบจำลอง และระบบการดำเนินงานที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาปริมาณความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำและการจัดการอุทกภัยในสองพื้นที่ของภูมิภาคอาเซียนที่มีความแตกต่างกัน คือ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เวียดนาม และลุ่มน้ำเจ้าพระยาในประเทศไทยที่เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
การกำหนดชุดข้อมูลและแบบจำลองนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก รวมถึงการออกแบบวิธีการวิเคราะห์ในการใช้ข้อมูลเหล่านี้ร่วมกัน ทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงด้านสภาพอากาศด้วยวิธีที่เหมาะสม เข้าถึงได้ และสอดคล้องกับนโยบาย งานที่เรากำลังทำอยู่นี้จะทำให้เกิดการพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงต่ออุทกภัยและทรัพยากรน้ำที่เข้าถึงผู้คนทุกกลุ่มเพศอย่างเท่าเทียมและยังมีส่วนสนับสนุนใน COP26 อีกด้วย
ประวัติผู้บรรยาย:
ดร. เครก ฮัตตัน ทำงานให้กับหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ รัฐบาล และองค์กรไม่แสวงผลกำไร (องค์กรพัฒนาเอกชน) ในหลายประเทศทั่วโลกในบริบทการเฝ้าระวังเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนทั้งในเมืองและพื้นที่ชนบท เขาและทีมงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุทกภัย ความแห้งแล้ง ความเค็ม พายุ และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ ตลอดจนการทำแผนที่ความยากจน การใช้ที่ดิน และการสกัดคัดแยกตะกอน ได้พัฒนาวิธีการประเมินว่าบุคคลและสถานที่ใด ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่าแผนที่ความเปราะบางที่จะแสดงให้เห็นว่าประชากรกลุ่มใดมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากอันตรายใด เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในประเทศใช้เป็นข้อพิจารณาเพื่อวางแผนจัดการปัญหาความยากจนและปกป้องผืนดินอย่างตรงประเด็น
งานส่วนใหญ่ของดร. เครกเน้นไปที่ระบบในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ อาทิ Volta Delta ในประเทศกานา Ganges Brahmaputra Meghna Delta ในประเทศบังคลาเทศและอินเดีย และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม เป็นต้น สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์มักมีความสำคัญต่อการผลิตอาหาร และการตั้งถิ่นฐานของประชากร แต่กลับเป็นแนวหน้าที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ปัจจัยการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล น้ำท่วมในแม่น้ำ และชายฝั่ง หรือภัยแล้งเป็นระยะเวลานาน และความกดดันอย่างหนักที่เกิดจากการพัฒนามนุษย์