ทุกเมืองกำลังรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็น “ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก” ประชาคมโลกต่างพยายามหาวิธีรับมือภายในระยะเวลาที่จำกัด มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องหลายต่อหลายครั้ง รวมถึงการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP26 ครั้งล่าสุดนี้ ที่สหราชอาณาจักรด้วย  

ทางเราได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. วิจิตรบุษบา มารมย์ หัวหน้าหน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจัยที่ได้รับทุน The Newton Fund Institutional Links เจ้าของแนวคิดเมืองพลวัต (Resilient City) หรือเมืองที่ปรับตัวจากการเปลียนแปลงได้ มาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเมืองและผู้คนในเมือง โดยเน้นว่าการจะแก้ปัญหาระดับโลกแบบนี้ จะมุ่งเน้นไปที่นโยบายอย่างเดียวเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อนไม่ได้แล้ว ปัจจุบันนี้ ปัญหานี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ โดยผสานองค์ความรู้เข้าสู่วิถีชีวิตชุมชน (Translate knowledge into action) เพื่อรับมือกับปัญหา

จากการพูดคุย มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ดร. วิจิตรบุษบา แนะนำว่าการจะเพิ่มความสามารถของเมืองในการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหา ควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ 

  1. Localise resilience – คนในเมืองต้องปรับตัวได้ด้วย ไม่ใช่ปรับแค่โครงสร้าง ต้องมีมาตรการแก้ปัญหาวิถีชีวิตชุมชน ตั้งแต่ระดับดับท้องถิ่น ทำผู้คนในชุมชนสามารถปรับตัวได้ทัน พร้อมรับผลการะทบจากการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
  2. Co-benefits – พิจารณาว่าสิ่งที่เมืองกำลังจะปรับ จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนได้อย่างไร 
  3. Socialise resilience – สิ่งนี้สำคัญมาก ดร. วิจิตรบุษบา ใช้คำว่า หากเรามีวิกฤติ แต่ไม่มี ‘Local Responsive Mechanism’ ผู้คนในชุมชนคาดการณ์ไม่ได้ ว่าปัญหาอะไรอาจจะเกิดบ้าง เพราะขาดการสื่อสารที่ดีพอ รวมถึงขาดความเข้าใจในวิถีชีวิตชุมชนและความไม่แน่นอน
  4. Adaptive law and regulations – ตัวบทกฏหมายควรมีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะเรื่องระบบนโยบายและการกำหนดผังเมือง
  5. Risk Assessment – สุดท้าย ต้องรู้จักประเมินความเสี่ยง สามารถฉายภาพความเสี่ยงของตัวเองในอนาคตออกมา เพื่อวางแผนรับมือความเสี่ยงนั้นได้

กล่าวคือ การจะสร้างเมืองให้มีความเป็นพลวัต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อสร้างความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงจากปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากมองถึงประเทศต้นแบบที่มีเมืองพลวัตที่เชื่อมโยงกับสากล หนึ่งในนั้นก็คือสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีโมเดลต้นแบบในการสนับสนุนและพัฒนาเมืองในหลายประเทศทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ The Global Future Cities Programme  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Prosperity Fund ของรัฐบาลอังกฤษ โดยมอบทุนเพื่อพัฒนา 19 เมืองทั่วโลก โดยมีเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน และบรรเทาปัญหาความยากจนของเมือง ดร. วิจิตรบุษบา เป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ปฏิบัติงานของโครงการในระดับท้องถื่น ดำเนินการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าบางหว้าในประเทศไทยภายใต้โครงการ โดยทำงานร่วมกับผู้กำหนดผังเมืองในการเข้าดูแลและพัฒนาพื้นที่ตามหลักสากลที่เรียกว่า Transit-Oriented Development Plan (TODP) ให้มีความเท่าเทียมและเชื่อมโยง สามารถสร้างประโยชน์แก่คนในชุมชนได้มากยิ่งขึ้น 

โครงการนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทบาทของสหราชอาณาจักรในการรับมือกับวิกฤติการณ์ระดับโลก ท่านที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศเพิ่มเติม สามารถเข้ามาเยี่ยมชมและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ที่บูธสหราชอาณาจักร ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 9 – 19 พฤศจิกายน 2564

แหล่งข้อมูล: 

http://urbanfuturestu.com/ 

https://www.globalfuturecities.org/

https://www.britishcouncil.org/climate-connection