เกี่ยวกับโครงการ
ประเทศไทย มีสินทรัพย์ที่เข้มแข็งเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยรัฐบาลได้ใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economic Model - BCG) มาใช้เป็นรูปแบบการพัฒนาใหม่สำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้จุดแข็งของประเทศในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม การเติบโตอย่างยั่งยืนดังกล่าวจำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ระบบนิเวศน์และธรรมชาติของนวัตกรรม รวมไปถึงผลกระทบของการนโยบายต่างๆ โดยในสหราชอาณาจักร ทักษะการคาดการณ์อนาคต (Foresight) และการสร้างแผนงาน roadmap นั้นมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์การกำหนดลำดับความสำคัญ และการพัฒนานโยบาย
ในปีผ่าน บริติช เคานซิล ได้ร่วมมือกับ Food Innopolis ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัย Cranfield University จากสหราชอาณาจักร เพื่อดำเนินโครงการ Foresight for Food ซึ่งได้ยอดมาเป็นโครงการ Foresight into the BCG Economy เพื่อขยายผลไปสู่ 4 ภาคส่วน ได้แก่ 1) อาหารและการเกษตร 2) สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 3) สิ่งแวดล้อม และ 4) การท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นประเด็นสำคัญ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อสร้างขีดความสามารถด้านทักษะการคาดการณ์อนาคต พัฒนากรอบการทำงาน และแผนกลยุทธ์สำหรับผู้กำหนดนโยบาย มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยของไทย ในการจัดทำนโยบายด้านการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรมที่มีข้อมูลที่ดีขึ้น และปรับปรุงการดำเนินการตามแผนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ 4 ภาคส่วน
- เพื่อแลกเปลี่ยนกรอบงาน เครื่องมือ และแผนงานยุทธศาสตร์กับประเทศพันธมิตรในภูมิภาคอาเซียน เพื่อทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาค
กิจกรรมภายใต้โครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแผนงานภายใต้การมองอนาคตในบริบทโครงการเศรษฐกิจบีซีจีครั้งที่ 1
บริติช เคานซิล ประเทศไทย และ เมืองนวัตกรรมอาหาร สวทช. ได้รวบรวมผู้มีส่วนร่วม 50 ท่านจากภาคอาหารและการเกษตร ตั้งแต่นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ไปจนถึงผู้กำหนดนโยบาย เพื่อเรียนรู้เทคนิคการมองอนาคต(Foresight)จากผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักร ผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้ใช้เวลาสามวันอย่างเข้มข้นเพื่อแบ่งปันความเชี่ยวชาญและข้อมูลเชิงลึกเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ระยะยาวและกำหนดการดำเนินการหลักที่จำเป็นสำหรับภาคส่วนที่สำคัญมากของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนได้ในอนาคตระยะยาวมากกว่า 20 ปี
เราพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักอันดับต้นๆ
ท้ายที่สุด ข้อมูลนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาแผนงานระดับชาติซึ่งจะถูกขับเคลื่อนโดยผู้กำหนดนโยบาย นี่เป็นการฝึกอบรมแบบพบปะครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแครนฟีลด์จากสหราชอาณาจักร ทีมงานผู้ดูแลโครงการใช้เวลากว่า 8 เดือนในการเตรียมตัวพร้อมแผนสำรองนับไม่ถ้วนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและข้อจำกัดการเดินทางจากสถาณการณ์ COVID-19 รวมไปถึงการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เข้าร่วมต้องเดินทางมาร่วมประชุมแบบพบปะ เนื่องจากจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถอภิปรายอย่างมีส่วนร่วมและได้ความคิดเห็นที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นจากผู้เข้าร่วมทั้งหมด ตลอดจนโอกาสในการสร้างเครือข่ายที่สามารถนำไปสู่การทำงานร่วมกันที่มีความหมายยิ่งขึ้นไปอีก
งานแถลงโครงการ Foresight into the BCG Economy: Food & Agriculture Series - Dissemination of Project Result and Policy Discussion
ร่วมรับชมงานแถลงโครงการโดยผู้กำหนดนโยบายหลักและผู้เชี่ยวชาญด้านการมองอนาคตจากสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับกระบวนการมองอนาคต เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิสัยทัศน์และแผนงานที่กำหนดเส้นทางสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG economy) ในภาคอาหารและการเกษตรในประเทศไทยและจุดมุ่งหมายของประเทศในการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการเพิ่มมูลค่าและนวัตกรรมรวมไปถึงผลของการประชุมเชิงปฏิบัติการการมองอนาคตจะถูกนำไปสู่นโยบายได้อย่างไร