ที่มาของโครงการ
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564 กระทรวงศึกษาธิการมีแผนการพัฒนาวิชาชีพครูไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนารายบุคคลของครูผู้สอน ทักษะการวิจัยในชั้นเรียนได้รับการพัฒนาเพื่อให้ครูสามารถสำรวจและมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนในห้องเรียนได้ดีขึ้น เพื่อระบุประเด็นท้าทายในปัจจุบันและสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงโดยตรงในห้องเรียน ครูจะกำกับตนเองได้มากขึ้นและมีอำนาจในการตัดสินใจซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงที่ส่งผลไม่ใช่เพียงแต่ในการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียนอีกด้วย
เกี่ยวกับโครงการ Exploratory Action Research in Thailand (EAR-Thailand)
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สำนักงานฝ่ายโปรแกรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษประจำภูมิภาค (Regional English Language Office: RELO) และ สมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย (Thailand TESOL) ร่วมกับ บริติช เคานซิล ได้ร่วมมือกันจัดทำโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยชั้นเรียน (EAR) ให้กับกลุ่มครูจากโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศไทยภายใต้โครงการ Exploratory Action Research for Thailand (EAR-Thailand)
โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาครูไทยให้เป็นนักวิจัยชั้นเรียนและเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงการสอนในห้องเรียนด้วยตนเอง เพื่อความยั่งยืนของโครงการ ครูและอาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนยังได้รับการสนับสนุนให้เป็นพี่เลี้ยงประจำโครงการ (ครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนและอาจารย์พี่เลี้ยงในมหาวิทยาลัย)
ตลอดระยะเวลาโครงการใน 8 เดือน ครูจะได้รับการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมเบื้องต้น การได้รับทรัพยากรต่างๆ เช่น คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน ความรู้ความชำนาญในการดำเนินการ EAR ทีละขั้นตอน และการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องผ่านการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว ทักษะการวิจัยของ EAR ช่วยให้ครูค้นพบประเด็นท้าทายที่นักเรียนมักเผชิญ และมอบเครื่องมือแก่ครูเพื่อจัดการกับประเด็นท้าทายเฉพาะเหล่านี้ โครงการ EAR-Thailand ขยายการสนับสนุนเหล่านี้ให้กับครูด้วยการมอบโอกาสในการดำเนินการและเผยแพร่งานวิจัยชั้นเรียน โดยได้รับโอกาสในการเข้าร่วมและนำเสนอในการประชุม การสนับสนุนจากบรรณาธิการชั้นนำในสาขา EAR เพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยของตนเองไปสู่ชุมชนการวิจัยของ EAR ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
นับตั้งแต่โครงการนำร่องเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2565 โครงการนี้ได้ฝึกอบรมครูผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 80 คนและครูพี่เลี้ยง 25 คนทั่วประเทศไทย (ขณะนี้ดำเนินโครงการอยู่ในรอบที่ 3 ในปีพ.ศ. 2567)
ภายใต้โครงการนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสหราชอาณาจักรได้รับการส่งเสริมความเข้มแข็งของโครงการด้วยการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยชั้นเรียนจากทั้งสองประเทศในระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย และในระดับนโยบายการศึกษา บริติช เคานซิลได้ให้การสนับสนุนที่สำคัญแก่โครงการ EAR-Thailand ผ่านการนำความเชี่ยวชาญและการเรียนรู้ของสหราชอาณาจักรจากโครงการเกี่ยวกับ EAR ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นทั่วโลกมาเป็นตัวอย่างที่ดีแก่โครงการในปัจจุบัน