ความเป็นมา

การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเป็นการแบ่งปันและสร้างวาระการประชุมร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทำให้เป็นภาคส่วนที่มีความเป็นนานาชาติมากที่สุดในโลก มีการใช้กลยุทธ์ระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระดับต่างๆ เช่น ความร่วมมือด้านการศึกษาร่วมในระดับอุดมศึกษา (Transnational Education, TNE) เพื่อเพิ่มโอกาสให้นักเรียนในท้องถิ่นสามารถเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา การปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของโปรแกรมการศึกษาระดับอุดมศึกษา การก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่วนในระดับนักเรียนและสถาบันนั้น การศึกษาร่วมยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสู่การศึกษาต่อในต่างประเทศ สามารถเสริมสร้างทัศนคติแบบนานาชาติ ทักษะด้านภาษาอังกฤษ รวมไปถึงเพิ่มขีดความสามารถในการทำวิจัยร่วมกัน

บริติช เคานซิล ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและสหราชอาณาจักรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การประชุมเสวนานี้เป็นการแบ่งปันประสบการณ์จากสถาบันไทย อาทิ อุปสรรค บทเรียนที่ได้รับ และอนาคตของความร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา

“ผลประโยชน์ร่วมกัน คือปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา โดยจำเป็นต้องมีข้อตกลงร่วมกันในระยะยาวและความไว้ใจระหว่างคู่สถาบัน การศึกษาระหว่างประเทศไม่ใช่เกมที่ต้องมีแพ้-ชนะ แต่คือเกมที่สุดท้ายแล้วผู้เล่นได้ประโยชน์ทั้งคู่”

รศ. ดร. นิธินันท์ วิศเวศวร คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  

วัตถุประสงค์

  • นำเสนอความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและสหราชอาณาจักร เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการนำเสนอการศึกษาร่วมในระดับอุดมศึกษา
  • เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายที่ต้องเผชิญในการพัฒนาการศึกษาร่วมในระดับอุดมศึกษา และโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาอื่น ๆ ตลอดจนหนทางพัฒนาไปสู่อนาคต
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้สหราชอาณาจักรและประเทศไทยสามารถเจริญเติบโตในด้านความร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา

“ในปัจจุบัน สิ่งสำคัญสำหรับการศึกษาของประเทศไทยคือการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้เพื่อให้รู้ หรือการเรียนรู้เพื่อให้จำไปสู่การเรียนรู้เพื่อจะเป็น หรือการเรียนรู้เพื่อสร้างคุณลักษณะของตนเอง ปัญหาการขาดประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนี้สามารถจัดการได้โดยการร่วมมือกัน”

รศ. ดร. บัณฑิต ทิพากร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 ผู้นำการประชุมเสวนา

รศ. ดร. บัณฑิต ทิพากร

บรรยายประเด็นหลัก: ความท้าทายที่สำคัญสำหรับประเทศไทยและความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับอุดมศึกษาจะสู้กับความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร

ตำแหน่ง: รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตปริญญาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี - โคลัมเบียสหรัฐอเมริกา เป็นรองศาสตราจารย์ด้านการประมวลสัญญาณและภาพในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ความหลงใหลในการวิจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ของอาจารย์ได้กลายมาเป็นแนวคิดริเริ่มต่างๆในด้านการพัฒนาด้านการศึกษาการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องความร่วมมือและความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของทางมหาวิทยาลัย โฟกัสปัจจุบันของอาจารย์คือการปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียนต่อการพัฒนาทักษะและความสามารถในศตวรรษที่ 21

 

Mr. Kevin Van Cauter

บรรยายประเด็นหลัก: กรอบการดำเนินงานและการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการศึกษาระดับนานาชาติเพื่อแจ้งนโยบายและการพัฒนากฎระเบียบและการวางแผนการลงทะเบียน 

ตำแหน่ง: ปรึกษาอาวุโส (ฝ่ายความร่วมมือระดับอุดมศึกษา) บริติช เคานซิล

ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาของบริติช เคานซิลซึ่งเป็นผู้นำในด้านการศึกษาระหว่างประเทศ (TNE) และความร่วมมือด้านการศึกษาทั่วโลก

เป็นเวลากว่าทศวรรษที่ Kevin มักได้รับเชิญให้เขียนบทความเกี่ยวกับการศึกษาร่วมและกระบวนการเคลื่อนย้ายนิสิตนักศึกษา รวมทั้งได้รับเชิญไปบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องในงานสัมมนาต่างๆที่จัดขึ้นทั่วโลก งานวิจัยของ Kevin ได้แก่ ผลกระทบของการจัดการศึกษาร่วมที่มีผลการะทบต่อประเทศเจ้าบ้าน ซึ่งจัดทำขึ้นในปี 2014  ต่อมาในปี 2015 เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์และจัดการระบบรวบรวมข้อมูลของการศึกษาร่วม และ กรอบการจำแนกประเภทและคำแนะนำในการรวบรวมข้อมูลซึ่งได้รับการเผยแพร่ในปี 2017 ล่าสุดในปี 2018 ได้จัดทำงานวิจัยในหัวข้อความท้าทายและวิธีการในการสร้างความเป็นนานาชาติในกลุ่มประเทศ CLMV คือประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม 

Prof. Steven W Edwards

หัวข้อบรรยาย: เสริมสร้างความแข็งแกร่งและพัฒนาความยั่งยืนของความร่วมมือ – ความร่วมมือจากงานวิจัยสู่โครงการการศึกษาร่วม

ตำแหน่ง: อาจารย์ใหญ่ประจำสำนักอุดมศึกษา (Higher Education Academy) มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล

ศาสตราจารย์ Steven ได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจาก University of Wales คุณSteven เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา วิทยาศาสตร์ทางชีวภาพและสถาบันการเรียนรู้และการเรียนการสอน  คณะสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต และใช้ระยะเวลาหนึ่งในการทำวิจัยที่บรัสเซลส์ ฟิลาเดลเฟีย คาร์ดิฟฟ์ และมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ก่อนจะย้ายไปประจำที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล Steven ได้พัฒนาความร่วมมือด้านวิจัยและการฝึกอบรมมากมาย อาทิเช่น ความร่วมมือในประเทศไทยกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย Bicol มหาวิทยาลัย Central Luzon State และ มหาวิทยาลัย  Philippines Los Banos ในประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย ความร่วมมือต่างๆเหล่านี้มีทั้งความร่วมมือในหลักสูตรร่วมและหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

รศ. ดร. นิธินันท์ วิศเวศวร

หัวข้อการบรรยาย: ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างความเป็นนานาชาติแก่สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา – กรณีศึกษา หลักสูตรการศึกษาร่วมไทยศึกษา

ตำแหน่ง: คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร.นิธินันท์ ดร.นิธินันท์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Land Economy จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาการศึกษาร่วมกับบริติช เคานซิล ตั้งแต่ปี 2015 โดยร่วมกับ SOAS ในหลักสูตรไทยศึกษา โดยดร.นิธินันท์มีประสบการณ์สูงในการร่วมงานกับองค์กรต่างประเทศ และทำวิจัยด้านในหลากหลายด้าน อาทิเช่น  การขยายตัวของยุโรป การบูรณาการการค้า มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี: กรณีศึกษาของสหรัฐฯกับสหภาพยุโรป การเข้าถึงตลาด สำหรับ SMEs (ASEAN-Europe FTA) ระบบทางเศรษฐกิจใหม่และผลกระทบต่อประเทศไทย ประสบการณ์อาเซียนต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของเอเชียกลางความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ความไม่เท่าเทียมทางรายได้และการพัฒนาเศรษฐกิจ

ดร. สราวุธ จันทร์สุวรรณ

เวทีเสวนา: วิธีการจัดการกับปัญหาทั่วไปในการพัฒนาโครงการการศึกษาร่วม

ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์และรองคณบดีฝ่ายบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ดร.สราวุธ เริ่มดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ ตั้งแต่ปี 2015 ในปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดร.สราวุธสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมขนสง จากมหาวิทยาลัย ยูทาห์ สเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะอนุกรรมการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการวางแผนงานระยะยาวเกี่ยวกับระบบขนส่งและโลจิสติกส์ และเป็นที่ปรึกษาในหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และระบบขนส่งอีกหลายหน่วยงาน ทั้งนี้ ดร.สราวุธมีความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยที่หลากหลาย รวมไปถึงด้านระบบขนส่ง การจัดการซัพพลายเชน การวิเคราะห์เครือข่าย และ การจำลองระบบขนส่ง

Mr. Jonathan Pike

เวทีเสวนา: วิธีการจัดการกับปัญหาทั่วไปในการพัฒนาโครงการการศึกษาร่วม

หัวข้อบรรยาย: ความร่วมมือระดับอุดมศึกษา: มองไปสู่อนาคต (ทำไมสถาบันเลือกที่จะพัฒนาหลักสูตรปริญญาร่วมและแรงจูงใจในอนาคต)

ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาความเป็นนานาชาติ มหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์

คุณ Jonathan ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ สถาบันสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารการตลาด (MA Marketing Communications) ผู้อำนวยการการศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัย และล่าสุดดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย ตลอดระยะเวลาในบทบาทเหล่านี้ คุณจอนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาร่วม (Transnational Education) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญและคุ้นเคยกับความท้าทายต่างๆที่เกิดขึ้นภายใต้กิจกรรมในด้านนี้เป็นอย่างมาก

รศ. ดร. ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล

เวทีเสวนา: วิธีการจัดการกับปัญหาทั่วไปในการพัฒนาโครงการการศึกษาร่วม

ตำแหน่ง: คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 

ด้วยประสบการณ์ด้านการสอนที่ผ่านมาในฐานะอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร.ธีร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านกลศาสตร์วิศวกรรมประยุกต์ จากมหาวิทยาลัย Technische Universität Darmstadt ประเทศเยอรมนี หัวข้อวิทยานิพันธ์คือ “Squeal in floating caliper disk brake: a mathematical model” และได้มีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิจัยและผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ต่างๆมากมายในฐานะอาจารย์ผู้สอน กรรมการ และที่ปรึกษาทางเทคนิค

Ms. Diana Chee

หัวข้อบรรยาย: ความร่วมมือระดับอุดมศึกษา: มองไปสู่อนาคต (ทำไมสถาบันเลือกที่จะพัฒนาหลักสูตรปริญญาร่วมและแรงจูงใจในอนาคต)

ตำแหน่ง: ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการตลาด มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ศูนย์มาเลเซีย

ด้วยประสบการณ์การเป็นผู้นำทีมที่มีความหลากหลายและเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งการจัดการกับงบประมาณหลักหลายล้านเพื่อดำเนินกลยุทธ์ด้านการสรรหาและสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย Diana ได้เริ่มต้นอาชีพของเธอในปี 2002 โดยมุ่งเน้นด้านการสร้างความร่วมมือ การพัฒนาธุกิจ และการตลาดระหว่างประเทศ ซึ่งเธอได้เข้าร่วมทำงานกับมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ศุนย์มาเลเซีย เมื่อปี 2006 ในตำแหน่งหัวหน้าภาคการตลาดระหว่างประเทศ โดยนำทีมที่ต้องสรรหานักเรียนกว่าจาก 80 ประเทศทั่วโลก หลังจากนั้น เธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าบริหารการตลาดขององค์กร ซึ่งคอยดูแลจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร การสร้างแบรนด์ รวมทั้งการตลาดแบบดั้งเดิมและการตลาดเชิงดิจิตัล ก่อนที่จะได้มาเป็นผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการตลาดของมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ศุนย์มาเลเซีย ในเดือนเมษายน ปี 2018

ดร. คนิน ซาเหลา

หัวข้อบรรยาย: ความร่วมมือระดับอุดมศึกษา: มองไปสู่อนาคต (ทำไมสถาบันเลือกที่จะพัฒนาหลักสูตรปริญญาร่วมและแรงจูงใจในอนาคต)

ตำแหน่ง: อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดร. คนิน ซาเหลา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการโครงการจุลชีววิทยาทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2016 โดยงานวิจัยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาภูมิคุ้มกันในเซลล์ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับเซลล์ภูมิคุ้มกันธรรมชาติกับการเกิดโรคพยาธิ ใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยมีการวัดและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของเซลล์ของเซลล์ภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติโดยใช้ระบบ flow cytometry ดร. คนินเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานโครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล