มหาวิทยาลัยระดับโลกสามารถมีส่วนร่วมในสังคมและสามารถจัดหาแนวทางแก้ไขโดยการขับเคลื่อนนวัตกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมอย่างฉับพลัน "The Conversations" จะสำรวจการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตลอดจนความท้าทายและโอกาสในการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาไทย การอภิปรายในครั้งนี้จะสะท้อนคุณสมบัติหลักที่จำเป็นของมหาวิทยาลัยในการก้าวเข้าสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกและวิธีที่มหาวิทยาลัยชั้นนำตอบสนองต่อปัญหาในระดับท้องถิ่นและระดับโลก
ติดตามชมวิดีโออภิปรายได้ที่นี่: https://www.facebook.com/BritishCouncilThailand/videos/273659303983965
การจัดอันดับช่วยเน้นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยในส่วนที่สำคัญรวมไปถึงโอกาสในอนาคตหากมหาวิทยาลัยต้องการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก มหาวิทยาลัยจะมีความเข้าใจในการสร้างความร่วมมือได้อย่างไร วิธิการที่มหาวิทยาลัยจะสร้างความเติบโตและส่วนไหนที่เป็นจุดแข็งที่สุดของมหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บทสนทนาตัดตอนมาจากอภิปราย:
องค์ประกอบสำคัญในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีอะไรบ้าง?คุณอลิซาเบธ (Times Higher Education): การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย Times Higher Education (THE) ประกอบด้วย ตัวชี้วัด 13 ข้อ ที่ประกอบเป็นเสาหลัก 5 ประการคือ ข้อมูลด้านการสอน การวิจัย การอ้างอิงงานวิจัย รายได้องค์กรและสถานะมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ โดยข้อมูลเหล่านี้ รวบรวมจาก 3 แหล่ง คือจากมหาวิทยาลัยโดยตรง สำรวจจากนักวิชาการ10,000-11,000 คนทั่วโลก และ การแสดงถึงการวิเคราะห์อย่างละเอียดเชิงลึกในการจัดอันดับ ท้ายที่สุดเราประเมินงานวิจัย เราพิจารณาระดับและขอบข่ายของงานวิจัยที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม |
อะไรคือปัจจัยหลักจากมุมมองของคุณที่มีอิทธิพลต่อการมุ่งเน้นของมหาวิทยาลัยดร. ชยาพร (มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง): ในปัจจุบัน ภารกิจของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยไม่ใช่แค่ภารกิจพื้นฐาน 4 ข้อในเรื่อง การสอน การวิจัยและบริการทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยควรให้การสนับสนุนภาคธุรกิจ และควรสนับสนุนการใช้งานวิจัยและนวัตกรรม นี่เป็นภารกิจสำคัญมากสำหรับทุกมหาวิทยาลัยในไทยในตอนนี้ และนี่เป็นเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และยังมีความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ในอีกด้าน มหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งกำลังพบกับปัญหาจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีลดลงอย่างต่อเนื่อง ในแง่ของความจำเป็นในการปรับตัวสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เราจึงจำเป็นต้องคิดทบทวนเกี่ยวกับระบบการศึกษาและการวิจัย |
มหาวิทยาลัยระดับโลกควรเป็นอย่างไรดร. ชยาพร: มหาวิทยาลัยระดับโลกควรเป็นสถาบันที่สามารถเสนอวิธีแก้ปัญหาเชิงเทคนิคและสังคม สำหรับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงและเรากำลังเผชิญการปฏิรูปภารกิจแรกก่อนการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก คือการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ คุณอลิซาเบธ: ฉันคิดว่าจุดแข็งของมหาวิทยาลัยในเอเชีย คือ การได้ใช้หลายภาษา ไม่ได้มีเพียงภาษาอังกฤษอย่างเดียวในการสอนนักศึกษามีโอกาสเรียนภาษาต่างๆ เช่น ภาษาจีน มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มีเงินทุนจำนวนมาก พวกเขาทำคะแนนได้ดีในเกณฑ์วัดด้านรายได้ทีมงาน และรายได้จากการวิจัย มหาวิทยาลัยได้เงินทุนจากจำนวนมากจากหุ้นส่วน การหาเงินทุนเป็นส่วนสำคัญในระบบของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์การสร้างมหาวิทยาลัยให้เติบโต |
ผู้เรียนมีบทบาทอย่างไรในการผลักดันมหาวิทยาลัยในการแข่งขันคุณอลิซาเบธ: ที่ Times Higher Education จะให้ความสำคัญกับคุณภาพนักศึกษาเมื่อเรียนจบและประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับ นี่เป็นเกณฑ์วัดที่สำคัญ ไม่ใช่แค่สำหรับการประเมินมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังเป็นเกณฑ์วัดผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยโดยพิจารณาที่คุณภาพนักศึกษาเมื่อเรียนจบ ที่มีหัวข้อว่า “คุณภาพนักศึกษาเมื่อเรียนจบ” หลังผ่านประสบการณ์การศึกษาในมหาวิทยาลเราคุยกันถึงประเด็นคุณค่าของประสบการณ์การศึกษาในมหาวิทยาลัย สิ่งที่การศึกษาให้กับชีวิตคนหนุ่มสาว ฉันคิดว่านี่เป็นข้อมูลสำคัญมากๆ |
รัฐบาลมีกลไกสนับสนุนการจัดอันดับมหาวิทยาลัยอย่างไร?ดร. ศิริฤกษ์ (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม): เราได้จัดตั้งโปรแกรมพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีหลายกลไกขับเคลื่อนมากมาย ยกตัวอย่างเช่น กลไกแรกเราให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลและข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับการจัดอันดับ เรามอบเงินทุนพิเศษเพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยในกิจกรรมใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น การดึงดูดนักศึกษาเก่งๆเข้าร่วมโปรแกรมการวิจัยหลังปริญญาเอก เพื่อดึงอาจารย์ต่างชาติ อาจารย์ชาวไทยเก่งๆ เข้าร่วมโปรแกรม เรามอบเงินทุนสนับสนุนโปรแกรม เช่น การสัมมนา, การจัดสอนคอร์สใหม่และสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยของเราเป็นที่รู้จัก เราทำให้กิจกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับโปรแกรม เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและระบบอุดมศึกษาไทยที่สอดคล้องกับข้อกำหนดการจัดอันดับนานาชาติ |
เกี่ยวกับโครงการความร่วมมือระดับอุดมศึกษาและโครงการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
บริติชเคานซิลร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พัฒนาโครงการความร่วมมือการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย - สหราชอาณาจักร (Thai-UK Higher Education Partnerships Project หรือ HEP)โครงการความร่วมมือดังกล่าวนำสถาบันทั้งไทยและสหราชอาณาจักรมาร่วมกันและอำนวยความสะดวกต่างๆในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งรวมไปถึงนักวิจัย นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจการระหว่างประเทศเกี่ยวกับกระบวนการสากล สิ่งนี้จะเป็นการปูทางในการอำนวยสภาพแวดล้อมที่ให้การสนับสนุนสถาบันไทยและสหราชอาณาจักรในการสร้างความร่วมมือที่ยั่งยืน โครงการนี้จะสร้างช่องทางสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรและการสร้างเครือข่ายผ่านเวทีเสวนาที่มองไปถึงปัญหาที่สถาบันระดับอุดมศึกษาต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อตอบรับกับนโยบายของรัฐบาล บริติช เคานซิล และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมกันผลักดัน “การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกของไทยและสหราชอาณาจักร” หรือ “Thai-UK World-Class University Consortium” ขึ้น เพื่อสนับสนุนการยกระดับมหาวิทยาลัยไทย สู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกที่สร้างชื่อเสียงและมีเครือข่ายอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ ผ่านการพัฒนาระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมุ่งเน้นการรับมือความท้าทายร่วมกับสหราชอาณาจักร ทั้งในด้านคุณภาพ ความครอบคลุม และความเป็นสากล
เหล่าวิทยากร
- Elizabeth Shepherd ที่ปรึกษาจาก Times Higher Education (THE) สำนักจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากอังกฤษ
- รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม